ปัญหาทางม้าลายอันตราย ตอนที่ 2

ผมเคยเขียนบทความเรื่อง ‘ปัญหาทางม้าลายอันตราย’ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ไม่นึกว่าจะต้องมาเขียนอีกครั้งเมื่อกำลังจะครบ 3 ปี และมันก็เป็นสถานที่เกิดเหตุสถานที่เดียวกันเดิม คือกรณีหมอกระต่ายถูก Big Bike ชนเสียชีวิต เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2565 และมันก็เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2568 ช่างบังเอิญอะไรปานนั้น เหตุเกิดวันเดียวกันแต่ห่างกัน 3 ปี โดยจักรยานยนต์ชนนักท่องเที่ยวชาวเกาหลีใต้ที่กำลังข้ามทางม้าลาย ทำให้ได้รับบาดเจ็บล้มคว่ำศีรษะแตก ทั้งๆ ที่ทางม้าลายมีสัญญานไฟแดงขึ้นแล้ว แต่คนขับรถจักรยานยนต์หานำพาไม่ และเลนถนนที่ชนก็เป็นเลนขวาสุด เลนเดียวกับที่หมอกระต่ายถูกชน ผมได้เคยเสนอทางแก้ไว้ในบทความเดิมของผม (โปรดคลิก Link ด้านบน) ไม่ขอมาลงซ้ำในที่นี้ สรุปสั้นๆ แต่เพียงว่า จะอาศัยการบังคับใช้กฎหมายจากผู้รักษากฎหมาย คือ ตำรวจ แต่ฝ่ายเดียวมันเป็นไปไม่ได้ เลิกหวังไปได้เลยครับ มันต้องอาศัยแรงของประชาชนด้วยกันนี่แหละครับ โดยฝ่ายภาครัฐจะต้องบูรณาการหน่วยงานต่างๆ เข้ามาแก้ปัญหาด้วยกัน ไม่ใช่ต่างหน่วยงานต่างทำเหมือนปัจจุบัน ซึ่งมันไม่ได้ผลเต็มที่ ต้องมีการจัดทำ App ให้ประชาชนลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครจราจร เพื่อใช้ถ่ายภาพหรือวิดีโอแจ้งการละเมิดกฎจราจร…

เล่าประสบการณ์สั่งซื้อ Kindle ebook จาก Amazon ญี่ปุ่น

ผมเปิดบัญชีใน Amazon อเมริกามานานแล้ว และสั่งหนังสือ ebook มาตลอด ไม่ว่าจะเป็นการอ่านผ่าน App ในมือถือ ใน iPad หรือใน iMac ตลอดจนอ่านบนเครื่องอ่าน Kindle paperwhite ซึ่งทุกเล่มสามารถ sync กันได้หมด นับว่าสะดวกมาก แต่เมื่อไม่นานมานี้ เกิดเห็น ebook ภาษาญี่ปุ่นอยู่เล่มหนึ่ง ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับกล้องถ่ายภาพ วางจำหน่ายเฉพาะที่ Amazon ญี่ปุ่น ลองหาใน Amazon อเมริกา ก็ไม่มีขาย มีแต่ใน Amazon ญี่ปุ่นเท่านั้น  ดังนั้น ก็ต้องหาวิธีว่าทำอย่างไรจึงจะสามารถ download มาอ่านได้ ผมลองค้นดูข้อเขียนต่างๆ ในเว็บ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษว่าต้องทำอย่างไร จึงจะเอา ebook จาก Amazon ญี่ปุ่นมาได้ ซึ่งเท่าที่รวบรวมหาข้อมูล มาได้มีประมาณนี้ – เบื้องต้น Amazon ญี่ปุ่น จะไม่อนุญาตให้ download…

ความแตกต่างระหว่าง Blog กับ Website

เคยสงสัยกันไหมครับว่า Blog คืออะไร แล้วมันแตกต่างกับ Website อย่างไร บางคนอาจจะงงๆ เรียกสลับไปสลับมา เรามาหาคำตอบกันในที่นี้ว่ามันแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ว่ากันกว้างๆ มันก็คล้ายๆ กัน ไม่ได้แตกต่างแบบฟ้ากับเหว หรือเทียบระหว่างแอปเปิ้ลกับส้ม แต่มันแตกต่างแบบส้มคนละพันธุ์เสียมากกว่า แบบว่าเป็นผลไม้ชนิดเดียวกัน รสชาติแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น เปรี้ยวกว่าหรือค่อนข้างหวานกว่า และความนิยมในการซื้อขายมากินกันมากกว่า รวมทั้งราคาขาย จริงๆ แล้ว ความแตกต่างมันอยู่ที่โครงสร้าง เนื้อหา วัตถุประสงค์ รูปแบบ อะไรทำนองนี้ แม้ว่าทั้งคู่จะแสดงอยู่ในรูปแบบออนไลน์เหมือนกัน ดังจะสรุปเป็นประเด็นหลักๆ และมีข้อยกเว้นของหลักที่ยกขึ้นมาด้วยยุบยับไปหมด ดังต่อไปนี้ – Website เน้นในด้านธุรกิจ การพาณิชย์ ปกติบริษัทต่างๆ เปิด Website ขึ้นมาก็เพื่อการนำเสนอสินค้าของตน หรืออาจเปิดให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าได้ บางเว็บก็เพียงแค่นำเสนอรายละเอียดสินค้าเท่านั้น ส่วนการสั่งซื้อก็จะให้ Link พวกตัวแทนจำหน่าย อันนี้เป็นหลักกว้างๆ แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว มันไม่เสมอไปหรอกว่าต้องเป็นเรื่องของธุรกิจ หน่วยงานต่างๆ เช่น ของรัฐ ของ NGO หรือองค์การต่างๆ ก็สร้างเว็บขึ้นมาประชาสัมพันธ์ขอบเขตหน้าที่หน่วยงานของตนเช่นกัน…

Thank you for reading my blog

From the time I started posting my first article on March 19, 2018 until today (December 21, 2023), this post is the 99th post. Basically, the content of my posts comprises 2 categories: articles and photo galleries. As you know, this blog is an information about general knowledge about photography. Since it’s a niche blog,…

เรื่องของ Joshua กับการออกเสียงภาษาอังกฤษ

  การแข่งขันกีฬา SEA Games 2021 ครั้งที่ 31 เพิ่งจบไปเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 (การแข่งขันครั้งนี้ใช้ชื่อปีว่า 2021 เพราะเลื่อนมาจากที่ต้องจัดในปี 2021 มาเป็นปี 2022) มีนักกรีฑาไทย 2 คน ที่สร้างชื่อเสียงโดดเด่นให้กับประเทศไทย (ความจริงก็มีหลายคน) คือ ภูริพล บุญสอน นักวิ่งระยะสั้น 3 เหรียญทอง คือ 100 เมตร 200 เมตร และ 4×100 เมตร และอีกคนคือ จอชชัว โรเบิร์ต แอทคินสัน (Joshua Robert Atkinson) นักวิ่ง 4 เหรียญทอง คือ 400 เมตร 800 เมตร 4×400 เมตร และวิ่งผสม (ชาย-หญิง)…

ปัญหาทางม้าลายอันตราย

Photo by Kaique Rocha from Pexels ปกติบล็อกของผมนี้เป็นบล็อกความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมทั้งแสดงภาพที่ผมได้ถ่ายไว้ ไม่เคยเขียนเรื่องอะไรอื่นนอกเหนือจากนี้ไปเลย แต่ครั้งนี้จำต้องมาเขียนเกี่ยวกับเรื่องปัญหาของทางม้าลาย ก็สืบเนื่องมาจากข่าวที่น่าสลดใจ กรณีหมอกระต่ายถูกรถมอเตอร์ไซด์ Big Bike พุ่งชนบนทางม้าลายจนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา ข่าวที่น่าเศร้านี้ได้สร้างกระแสรณรงค์เกี่ยวกับการข้ามถนนบนทางม้าลายเกิดขึ้นในสังคมไทย ทำให้ผมต้องขอร่วมรณรงค์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยของการข้ามทางม้าลาย แม้จะเป็นเสียงหนึ่งเพียงเสียงเดียวก็ตาม ซึ่งข้อเสนอของผมก็เกี่ยวข้องอยู่กับกล้องถ่ายภาพอยู่เช่นกัน จะว่าไม่เกี่ยวอะไรเอาเลยก็ไม่ได้ และก็เป็นข้อเสนอที่ผมยังไม่เห็นใครเสนอมาแบบที่ผมเสนอ ถ้าใครติดตามข่าวก็จะเห็นว่ามีความพยามในเรื่องการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการละเมิดกฎจราจร ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง หรือทางองค์กรเอกชนก็ตาม  ผมขอยกตัวอย่างตามที่หาข้อมูลข่าวสารมาได้ ดังนี้   – โครงการอาสาตาจราจร ให้ประชาชนทำหน้าที่พลเมืองดีตรวจตราการกระทำผิดจราจร โดยส่งคลิปหน้ากล้องหรือคลิปจากมือถือบันทึกการทำผิดกฎจราจร โดยส่งไปที่ศูนย์โซเชี่ยลมีเดีย ศปก.ตร. หรือสถานวิทยุ สวพ.91 หรือ จส.100 หรือเว็บไซต์มูลนิธิเมาไม่ขับ ซึ่งจะรวบรวมส่งต่อไปยังสถานีพื้นที่ที่เกิดเหตุ เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งโครงการนี้จะมีรางวัลให้เดือนละ 10 คลิป ตั้งแต่คลิปละ 2,000 – 20,000 บาท ซึ่งมาจากการคัดเลือกคลิปโดยมูลนิธิเมาไม่ขับ พร้อมทั้งจัดหารางวัลให้ด้วย อันนี้ผมเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีมากโครงการหนึ่ง เพียงแต่การตรวจตราการทำผิดครอบคลุมอยู่แค่เพียง 4 ข้อหาเท่านั้น…

การอ่านออกเสียงคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษบางคำในวงการถ่ายภาพ

คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษนำมาใช้ในภาษาไทยมีมากมายหลายวงการ คำบางคำเรียกได้ว่าพูดกันจนคิดกันว่ามันเป็นภาษาไทยไม่ใช่คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ และแน่นอนการออกเสียงคำทับศัพท์ก็ออกเสียงแบบไทย คือ เป็นแบบภาษาไทย ไม่ใช่ออกเสียงแบบภาษาอังกฤษแท้ๆ ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่ผมกำลังเขียนอยู่นี้มันเป็นเรื่องการเขียน/การออกเสียงคำทับศัพท์ที่ไม่ตรงคำภาษาอังกฤษแท้ๆ คำที่ชัดเจนที่สุดที่เข้าข่ายลักษณะที่ว่ามานี้ เป็นคำทับศัพท์ที่ใช้อยู่ในวงการช่างยนต์ คือ ช่างรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ คำนั้น คือ โช้คอัพ ซึ่งหมายถึง ส่วนอุปกรณ์ที่รองรับการกระแทกของรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ หรือแม้แต่รถจักรยานประเภทเสือภูเขาก็มีโช้คอัพใช้  และผมก็คิดว่าคนหลายๆ คน คงเข้าใจไปว่า คำว่า โช้คอัพ มาจากคำภาษาอังกฤษว่า choke up ซึ่งไม่ใช่นะครับ แต่มาจากคำว่า shock absorber ไม่รู้ว่าทำไมคำทับศัพท์คำนี้ถึงเพี้ยนออกไปไกลขนาดนั้น ถ้าจะให้เดา ก็คิดว่าช่างยนต์ในสมัยก่อนนั้น เห็นคำภาษาอังกฤษว่า shock ก็คิดเอาเองว่าคำนี้ออกเสียงว่า โช้ค และ absorber ก็ออกเสียงว่า อัพซอฟเบอร์ แต่พอรวมกันเป็น โช้คอัพซอฟเบอร์ มันยาวไป และจำยาก เลยเรียกให้สั้นลงเป็น โช้คอัพ อีกคำที่ใช้ในวงการช่างรถยนต์ คือ คัสซี ซึ่งหมายถึงโครงรถหรือเฟรมของรถยนต์ตามความยาวของตัวถังรถ ซึ่งมาจากคำภาษาอังกฤษว่า chassis ซึ่งออกเสียงว่า…

การอ่านออกเสียงยี่ห้อภาษาจีนของอุปกรณ์เกี่ยวกับการถ่ายภาพ

อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการถ่ายภาพในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น เลนส์ แฟลช  Gimbal หรืออุปกรณ์กันสั่น  ขาตั้งกล้อง ตู้กันความชื้น เป็นต้น โดยเฉพาะสินค้าที่มาจากจีน และใช้ชื่อจีนเป็นหลัก ทำให้ผู้ใช้คนส่วนใหญ่ออกเสียงเรียกยี่ห้อเหล่านี้ไม่ถูก และไม่แน่ใจว่าออกเสียงอย่างไร เพราะแม้แต่บริษัทผู้นำเข้าก็เลือกที่จะใช้คำภาษาอังกฤษในการโฆษณาผลิตภันฑ์ที่ตนนำเข้า แทนที่จะเขียนเป็นชื่อภาษาไทย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเกรงว่าจะออกเสียงไม่ถูก หรือเกรงว่าชื่อจีนมันดูไม่ทันสมัย    ข้อเขียนนี้เขียนขึ้นมาก็เพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ใช้อุปกรณ์เหล่านั้นทราบว่า ยี่ห้ออุปกรณ์ของตนนั้น มีชื่อเรียกที่ถูกต้องว่าอย่างไรบ้าง ที่ผมจะยกมาก็คงไม่กี่ยี่ห้อ เอาเฉพาะที่คนใช้กล้องพอรู้จักและใช้กันในไทยเท่านั้น ไม่ได้ยกมาทุกยี่ห้อ และไม่ได้รวมถึงยี่ห้อจีนที่มีชื่อเป็นคำอังกฤษอยู่แล้ว เช่น DJI ซึ่งเป็นยี่ห้อของ Drone และ Gimbal หรือ Wonderful ซึ่งเป็นยี่ห้อของตู้กันความชื้น เป็นต้น   เนื้อหาในข้อเขียนนี้เป็นเนื้อหาเบาๆ น่ะครับ ไม่ใช่วิชาการอะไร เพราะผมเองก็ไม่ใช่นักวิชาการ ไม่ใช่นักภาษาศาสตร์ ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาจีนแต่อย่างใด เพียงแต่พอมีความรู้ภาษาจีนบ้างเล็กๆ น้อยๆ และเคยทำงานอยู่ในจีนมาเกือบครบ 11 ปี หย่อนไปไม่กี่เดือน จึงค่อยหาญกล้าที่จะออกมาเขียนเรื่องแบบนี้บ้างเล็กๆ น้อยๆ    สำหรับท่านที่ไม่ทราบภาษาจีนกลางเลย ก็ขอเรียนเพิ่มเติมว่า เพื่อให้เข้าใจหลักการออกเสียงบางประการเกี่ยวกับการนำอักษรโรมันมาใช้ในภาษาจีน (romanization)…