Metadata ใน Affinity Photo ในที่นี้หมายถึงเฉพาะ Affinity Photo บน Desktop เท่านั้น ไม่ได้หมายรวมถึง Affinity Photo บน iPad ความจริงแล้ว Metadata ใน Affinity Photo มีมาตั้งแต่เวอร์ชั่น 1.8 แล้ว (เวอร์ชั่นปัจจุบัน ณ เวลาที่เขียน คือ 1.10) ก็ถือว่าเป็นเรื่องเก่าแต่เอามาเล่าใหม่ บางคนคิดว่าเรื่อง Metadata ไม่ได้สำคัญอะไร แต่ผมคิดว่า ถ้าเราถ่ายรูปเล่นไม่ได้จริงจังอะไรกับมันมากนัก หรือถาพถ่ายเรามีน้อยมันก็อาจไม่ได้จำเป็นอะไรมากนัก แต่เมื่อใดที่เรามีภาพถ่ายจำนวนหลายหมื่นภาพขึ้นไป หรือเราเป็นคนที่มาหากินกับการถ่ายภาพ ไม่ว่าช่างภาพอาชีพ หรือช่างภาพงานอดิเรก ช่างภาพที่ขายภาพออนไลน์ Metadata ก็จะกลายเป็นเรื่องที่สำคัญขึ้นมาทันที บทความนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ภาพรวมแนวความคิดเกี่ยวกับ Photo Metadata (เน้นเฉพาะภาพถ่ายเท่านั้น ไม่รวมถึง Metadata ของข้อมูลไฟล์อิเล็กทรอนิกส์อื่น) ว่ามันหมายถึงอะไร…
Affinity Photo ในส่วนของ Photo Persona (ตอนที่ 3)
Affinity Photo ในส่วนของ Photo Persona (ตอนที่ 3) นี้ เป็นข้อเขียนต่อเนื่องมาจากข้อเขียนเรื่อง Affinity Photo ในส่วนของ Photo Persona (ตอนที่ 1) ซึ่งผมเขียนไว้เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 และ ตอนที่ 2 ซึ่งเขียนไว้เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งตอนที่ 3 นี้ เป็นตอนสุดท้ายในส่วนของ Photo Persona ซึ่งจะกล่าวเฉพาะ Studio Panel เท่านั้น และเวอร์ชั่นที่อ้างอิงในข้อเขียนนี้ คือ 1.10 (ซึ่งข้อเขียนใน 2 ตอนที่ผ่านมา เป็นเวอร์ชั่น 1.8) ก็ยอมรับครับเขียนหนังสือช้ามาก ประกอบกับไม่ต้องการเขียนเรื่องเดียวแบบยาวๆ ติดต่อกันจนจบ เนื่องจากผู้ที่เข้ามาอ่าน Blog ของผมมีอยู่หลายกลุ่ม และผมไม่อยากใช้เวลาทั้งหมดไปกับเรื่องๆเดียวเท่านั้น ต้องขออภัยด้วยครับ อนึ่ง ขออนุญาตทำความเข้าใจกันก่อน…
Affinity Photo ในส่วนของ Photo Persona (ตอนที่ 2)
Affinity Photo ในส่วนของ Photo Persona (ตอนที่ 2) นี้ เป็นข้อเขียนต่อเนื่องมาจากข้อเขียนเรื่อง Affinity Photo ในส่วนของ Photo Persona (ตอนที่ 1) ซึ่งผมเขียนไว้เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 อนึ่ง ในระหว่างที่กำลังเขียนเรื่องนี้ใกล้จะจบแล้ว Affinity Photo 1.9 ออกมา ก็ขอไม่เขียนถึงเวอร์ชั่น 1.9 ในข้อเขียนนี้นะครับ ไม่งั้นมันต้องเพิ่มเนื้อหาเข้าไปอีกมาก และต้องใช้เวลามากเข้าไปอีกกว่าข้อเขียนจะออกมาได้ ซึ่งผมได้เขียนข้อเขียนนี้ไว้ในตอนที่ 1 ก็นานมากแล้ว Menu Bar Menu Bar บน Windows กับ Mac จะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตรงการวางตำแหน่งของเมนูต่างๆ ผมขออธิบายไปตามเครื่อง Mac ที่ผมใช้ ดังภาพด้านล่าง – Affinity Photo Menu Affinity Photo Menu…
Affinity Photo ในส่วนของ Photo Persona (ตอนที่ 1)
หลังจากที่ได้เขียนเรื่อง Affinity Photo มา 2 บทแล้ว ซึ่งบทความหลังสุดเรื่อง “Affinity Photo ในส่วนของ Develop Persona”นั้น ถ้าผู้ที่เคยอ่านจำได้หรือกลับไปอ่านในส่วนนั้น ก็จะจำได้ว่า หลังจากที่เราคลิกปุ่ม Develop แล้ว โปรแกรมก็จะเข้าสู่ Photo Persona ทันที เช่นเดียวกับกรณีที่เราเปิดไฟล์อื่นที่ไม่ใช่ไฟล์ Raw โปรแกรมก็จะเข้าสู่ Photo Persona เช่นเดียวกัน ซึ่งการเข้าไปสู่ Photo Persona หลังจากผ่านขั้นตอนของ Develop Persona ก็เท่ากับว่าไฟล์ถูกบันทึกไว้เป็นฟอร์แมต afphoto เรียบร้อยแล้ว ก่อนเข้ารายละเอียดของ Photo Personal ขอเรียนเพิ่มเติมนิดว่า บทความนี้ผมเน้นไปที่มือใหม่หัดใช้โปรแกรมให้รู้จักเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ของโปรแกรม วิธีการเขียนในส่วนของ Photo Persona จะคล้ายกับในบทความก่อนหน้านี้ในส่วนของ Develop Persona ที่กล่าวถึงเครื่องมือและเมนูต่างๆ แบบเรียงลำดับไป กล่าวคือ จะอธิบายใน 5 ส่วนหลักๆ คือ…
Affinity Photo ในส่วนของ Develop Persona
ผมเขียนเรื่อง “มารู้จักกับ Affinity Photo” ไว้เมื่อเดือนมกราคม 2563 ที่ผ่านมา เป็นข้อเขียนที่แนะนำให้รู้จักโปรแกรม Affinity Photo อย่างคร่าวๆ โดยเน้นไปที่ User Interface ต่างๆ พอเป็นสังเขป ไม่ได้ลงลึกอะไรมากนัก และมีคนเข้าไปอ่านพอสมควร ตอนแรกคิดว่าไม่น่าจะมีคนอ่านเรื่องนี้เท่าไหร่ คิดว่าคนคงใช้โปรแกรมตัวนี้น้อยมาก แต่เช็คยอดผู้อ่านแล้วมีคนเข้าไปอ่านมากพอสมควร ก็เลยเห็นภาพว่าโปรแกรมตัวนี้ (ซึ่งมีการทำงานคล้ายคลึงกับ Photoshop) เร่ิมมีคนไทยใช้มากขึ้นทุกวัน ผมก็เลยคิดว่า จะเขียนเรื่องนี้เพิ่มเติม โดยเน้นไปในส่วนของ Develop Persona ส่วน Persona อื่นๆ คิดไว้ว่าหากมี mood เมื่อใด ก็จะทยอยเขียนไปเรื่อยๆ ผมก็ยังคงย้ำแนวคิดเดิมตามที่เคยเขียนไว้ในตอนแรกกว่า เป็นการเขียนในลักษณะแนะนำโปรแกรมว่ามันมี Feature ใช้งานอะไรได้บ้าง โดยเพิ่มการอธิบายถึงเครื่องมือและ Panel ต่างๆ ของ Develop Persona แต่จะไม่มีการเขียนแบบว่า นำตัวอย่างภาพมาแสดงให้เห็นว่าจะปรับแต่งตรงไหนบ้าง อย่างไรบ้าง ดึง curve อย่างไร อะไรทำนองนี้ อนึ่ง…
มารู้จักกับ Affinity Photo
ในวงการตกแต่งภาพหรือวงการถ่ายภาพ โปรแกรมที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมมากที่สุด ก็ไม่พ้น Adobe Lightroom และ Adobe Photoshop ส่วนโปรแกรมตัวอื่นๆ ก็สอดแทรกขึ้นมาได้ยากเพราะ Adobe เขาครองตลาดมายาวนานแล้ว แต่มันไม่ได้หมายความว่า โปรแกรมอื่นๆ มันจะไม่ดีไม่ยอดเยี่ยมเท่ากับเจ้าตลาด ซึ่งโปรแกรมเจ้าอื่นๆ มีทั้งที่มีความสามารถยอดเยี่ยมอยู่มาก เพียงแต่ผู้ใช้อาจไม่รู้จัก ไม่คุ้นเคย และไม่อยากจะเปลี่ยนไปใช้โปรแกรมตัวอื่นจากโปรแกรมที่ตัวเองคุ้นเคยอยู่แล้ว และไม่อยากจะเริ่มต้นเรียนรู้โปรแกรมใหม่ๆ แต่ปัจจุบันผู้ใช้บางคนก็เริ่มหาโปรแกรมตัวอื่นๆ เข้ามาแทนที่กันบ้างแล้ว โดยเฉพาะหลังจากที่ Adobe ได้เปลี่ยนระบบการซื้อขายโปรแกรมมาเป็นระบบ subscription หรือการเช่าโปรแกรม โดยใช้กลยุทธชูราคาต่ำที่ผู้ใช้มีกำลังซื้อหามาใช้ได้ อย่างเช่น Photography Plan ของ Adobe สามารถใช้โปรแกรม Photoshop + Lightroom + Cloud Storage 20GB ในราคาเริ่มต้นขั้นต่ำเดือนละ 356 บาท ซึ่งก็ไม่ต่างจากราคาค่าใช้โทรศัพท์มือถือหรือถูกกว่าด้วยซ้ำ ซึ่งทำให้ปริมาณผู้ใช้ซอฟแวร์เถื่อนลดลง เพราะราคาซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์มีราคาลดลง ซึ่ง Adobe เองก็มีผลประกอบการสูงขึ้นมากมายจากการใช้ระบบ subcription เรียกว่าไม่ต้องจ่ายเงินค่าซื้อโปรแกรม Adobe ครั้งละเป็นหมื่นๆ บาท อย่างไรก็ดี…