Affinity Photo ในส่วนของ Photo Persona (ตอนที่ 2) นี้ เป็นข้อเขียนต่อเนื่องมาจากข้อเขียนเรื่อง Affinity Photo ในส่วนของ Photo Persona (ตอนที่ 1) ซึ่งผมเขียนไว้เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563
อนึ่ง ในระหว่างที่กำลังเขียนเรื่องนี้ใกล้จะจบแล้ว Affinity Photo 1.9 ออกมา ก็ขอไม่เขียนถึงเวอร์ชั่น 1.9 ในข้อเขียนนี้นะครับ ไม่งั้นมันต้องเพิ่มเนื้อหาเข้าไปอีกมาก และต้องใช้เวลามากเข้าไปอีกกว่าข้อเขียนจะออกมาได้ ซึ่งผมได้เขียนข้อเขียนนี้ไว้ในตอนที่ 1 ก็นานมากแล้ว
Menu Bar
Menu Bar บน Windows กับ Mac จะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตรงการวางตำแหน่งของเมนูต่างๆ ผมขออธิบายไปตามเครื่อง Mac ที่ผมใช้ ดังภาพด้านล่าง
– Affinity Photo Menu
Affinity Photo Menu สามารถคลิกเข้าสู่ Persona ต่างๆ ผ่านเมนูนี้ได้ นอกเหนือจากคลิกที่ไอคอน Persona ที่บนโปรแกรมโดยตรง (สำหรับเวอร์ชั่น Windows ในส่วนนี้จะอยู่ที่ File Menu/Personas) เมนูที่สำคัญ คือ Preferences (ใน Windows อยู่ใน Edit Menu) Shortcut คือ Cmd+, (Ctrl+,) ส่วน Services, Hide, Hide Others, Show All ไม่ได้เกี่ยวอะไรโดยตรงกับ Affinity Photo มันเป็นเมนูมาตรฐานของ Mac ที่โปรแกรมใน Mac ทุกโปรแกรมต้องมีเมนูแบบนี้ ส่วน Quit ก็คือปิดโปรแกรม (ใน Windows ก็ที่เมนู File/Exit) สำหรับคีย์บอร์ด Shortcut ของ Quit (Exit) คือ Cmd+w (Ctrl+w)
ขอกลับมาที่ Preferences การตั้งค่าต่างๆ ของ Affinity Photo
หัวข้อการตั้งค่าสามารถตั้งได้ใน 8 หัวข้อ คือ General, Colour, Performance, User Interface, Tools, Keyboard Shortcuts, Photoshop Plugins และ Miscellaneous ที่จริงแล้ว ค่า default ที่โปรแกรมเขาตั้งมาให้ ก็สมบูรณ์ดีอยู่แล้ว แต่ถ้าใครอยากเปลี่ยนแปลงอะไร ก็ทำผ่าน Preferences นี่แหละครับ และที่ผมเห็นว่ามีประโยชน์มาก คือ Photoshop Plugins ซึ่งในส่วนนี้ เราสามารถนำ Plugin ที่ส่วนมากใช้ใน Photoshop ได้ นำเข้ามาใช้ใน Affinity Photo ได้ด้วย โดยส่วนตัว ผมนำเอากลุ่มโปรแกรม Nik Collection และ Topaz เข้ามาเป็น Plugin ของ Affinity Photo (ดังภาพในส่วนของ Photoshop Plugins ด้านล่าง) ซึ่งขอนำภาพของแต่ละหัวข้อของการตั้งค่าใน Preferences มาแสดง ณ ที่นี้ด้วย
ไม่ทราบว่าเคยมีใครสังเกตกันบ้างไหมครับเกี่ยวกับไอคอนใน Preferences นั้น ไอคอนเกือบทุกตัวลักษณะของมันจะสัมพันธ์กันกับชื่อ คือ เห็นแค่ไอคอนก็น่าจะพอมองออกว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ยกเว้นไอคอนเดียว คือ Performance ไหงมันกลายเป็นรูปแมวกำลังเดิน แล้วแมวมันสื่อหรือเกี่ยวอะไรกับเรื่อง Performance คือ สมรรถนะ ผมพยายามหาคำอธิบายจาก Help File ของโปรแกรม ก็มีเขียนไว้เล็กน้อยในส่วนของ Cat Tool ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Shape Tool เขาเขียนระบุไว้ว่า Cats are cool. Everyone loves cats, especially the guys here on the Affinity team! So if you need a cat to add to your images, the Affinity Cat comes to the rescue! ถึงแม้ว่ากลุ่มโปรแกรมเมอร์ที่นี่เขารักแมว แต่ก็ยังไม่สามารถอธิบายได้ชัดแจ้งว่า สมรรถนะมันเกี่ยวอะไรกับแมวหนอ พอดีผมเห็น Clip เกี่ยวกับแมวใน Line และ Pinterest จึงคิดว่า ถ้าใครดู Clip ที่ผมได้ดัดแปลงเพิ่มเติมเเล็กน้อยนี้ น่าจะให้คำตอบได้กระมังครับว่า แมวสื่อให้เห็นถึง Performance อย่างไร และขอขอบคุณเจ้าของคลิปและผู้รวบรวมไว้ ณ ที่นี้ด้วย
รายละเอียดของ File Menu ประกอบด้วย
– New คือ เปิดไฟล์เปล่าไฟล์ใหม่ ซึ่งได้อธิบายไว้ค่อนข้างละเอียดในตอนต้นของบทความนี้ในตอนที่ 1 ในหัวข้อ วิธีสร้างไฟล์ใหม่
– New From Clipboard เป็นไฟล์ที่เกิดจากการ copy ภาพไว้ใน Clipboard
– New Panorama ฟังก์ชั่นการสร้างภาพมุมกว้าง Panorama โปรแกรมจะแสดงหน้าต่าง New Panorama ให้เราเอาภาพหลายๆ ภาพมาเรียงต่อกันได้ ดังตัวอย่างขั้นตอนการทำงานในภาพด้านล่าง
ขั้นตอนแรก โปรแกรมแสดงหน้าต่าง New Panorama ให้นำภาพที่ได้ปรับปรุงสีแสงตรงกันทั้งหมดเข้าสู่หน้าหน้าโดยคลิก Add ภาพ Panorama จะแสดงภาพ thumbnail ทางด้านขวาของหน้าต่าง แล้วคลิก OK
โปรแกรมก็จะแสดงผลดังภาพด้านล่าง แต่จะเห็นว่าภาพยังต่อกันไม่สมบูรณ์
ใช้วิธี Crop ภาพ และที่สำคัญให้คลิกเลือก Inpaint Missing Areas ที่อยู่ด้านบนของโปรแกรม (วงกลมเขียว) โปรแกรมจะได้เติม pixel ที่เป็นช่องว่างขาวๆ ให้ หลังจากนั้น คลิก Apply
โปรแกรมแสดงผลสุดท้ายของภาพ Panorama บางครั้งถ้าการเติม pixel ของโปรแกรมทำได้ยังไม่ดี ก็ใช้วิธี crop อีกครั้ง แต่ภาพที่ผมทดลองให้ดู ปรากฎว่าดีครับ ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม
– New Stack
Stack ในกรณีนี้ไม่ใช่ Focus Merge หรือ Focus Stacking แต่เป็น Image stacks คือ นำภาพที่ค่อนข้างเหมือนๆ กัน มารวมกันแล้ว blend ภาพเหล่านั้นเข้าด้วยกันให้กลายเป็นภาพเดียว วัตถุประสงค์เช่น เพื่อ merge exposure เข้าด้วยกัน จากภาพที่เปิดค่ารับแสงไม่เท่ากัน หรือใช้เพื่อลด noise โดยการ blend noise ของทุกภาพเข้าด้วยกัน หรือใช้เพื่อทำภาพประเภท composite effect เช่น การถ่ายภาพพลุไฟ การถ่ายภาพเส้นแสงดาว (Star Trail) หรือแม้แต่การลบวัตถุหรือ object ในภาพที่เราไม่ต้องการก็ได้เช่นกัน แต่ควรเป็น object ที่เคลื่อนไหวไม่นิ่งอยู่กับที่ เช่น คนกำลังเดิน นกกำลังบิน เป็นต้น
วิธีการก็คล้ายคลึงกับวิธีทำภาพ Panorama คลิกเมนู New Stack โปรแกรมจะแสดงหน้าต่างดังภาพล่าง
ตัวอย่างนี้จะแสดงการ Stack ภาพแบบ Composite โดยใช้ภาพพลุ 4 ภาพที่ไม่เหมือนกันเพิ่มเข้ามาในหน้าต่าง
ทั้งนี้ ผมไม่ได้คลิกเลือก Automatically Align Images เพราะไม่ได้ต้องการให้รวมภาพให้อยู่ในตำแหน่งตรงกัน เพราะมันเป็นภาพพลุ หลังจากนั้น คลิก OK ก็จะได้ภาพ Stack ดังนี้
จะเห็นว่าในภาพนี้ ประกอบไปด้วย Layer จากภาพต่างๆ ที่นำมารวมกัน ซึ่งประการสำคัญต้องคลิกเลือก Stack Operators ที่เหมาะสมกับภาพนั้นๆ ในภาพนี้ผมเลือกใช้ Maximum จึงจะเสร็จสิ้นกระบวนการ หลังจากนั้น จะไปปรับแต่งภาพต่ออย่างไรก็ได้ตามใจชอบ
– New HDR Merge
HDR หรือ High Dynamic Range เป็นการนำภาพที่มี Dynamic Range ต่างกัน ก็คือสภาพแสงต่างกัน แล้วนำมารวมกัน ปกติก็ใช้ภาพอย่างน้อย 3 ภาพ คือ ภาพที่มีค่า Exposure ปกติ ภาพ Underexposure และ ภาพ Overexposure วิธีการทำ ก็เลือกเปิดไฟล์เมนู New HDR Merge โปรแกรมก็จะแสดงหน้าต่างขึ้นมาให้เลือกเลือกภาพโดย Add ภาพแล้ว ก็ปรากฎดังภาพด้านล่างนี้
หลังจากนั้น ก็เลือกตั้งค่าเพิ่มเติมได้ แล้วคลิก OK ใช้เวลาสักครู่ให้โปรแกรมประมวลผล ก็จะแสดงภาพแบบด้านล่างนี้
ด้านซ้ายของโปรแกรม คือ Preset Panel ที่เราสามารถเลือก Preset ได้ ส่วนด้านขวาเป็น Studio Panel ที่เราสามารถปรับแต่งค่าต่างๆ ได้ ก่อนที่จะคลิกเลือก Apply ตรงมุมซ้ายด้านบนของโปรแกรม หรือกด Enter
– New Focus Merge
เรียกอีกนัยหนึ่งก็คือ Focus Stacking นั่นเอง จุดประสงค์ของการใช้ฟังก์ชั่นนี้ก็เพื่อให้ภาพชัดทั้งภาพ โดยเริ่มจากการถ่ายภาพโฟกัสจุดที่ใกล้ จุดกลางๆ และจุดท้ายๆ แล้วนำมารวมกันในโปรแกรมเพื่อทำให้ภาพชัดทั้งภาพ ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง เป็นภาพ Close-up ตัวหนอน ซึ่งจะทำให้ชัดได้(เกือบ)ทั้งภาพ ก็ต้องใช้เลนส์ Macro ถ่ายแบบ Focus Stacking 10 กว่าภาพ แล้วนำมารวมผ่านเมนู New Focus Merge หลังจากนั้น ก็ไปปรับแต่งแสงและ Crop ภาพ
วิธีการทำก็ไม่ได้แตกต่างกับวิธีการข้างต้นที่ผ่านมา เปิดเมนู New Focus Merge แล้วเลือก Add ไฟล์ หลังจากนั้น ก็คลิก OK ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนยุ่งยาก ไม่มี Option อะไรให้เลือก ข้อสำคัญอยู่ที่ภาพถ่ายที่เราถ่ายมานั้น จุดโฟกัสมันต้องต่อเนื่องกันเท่านั้นเอง อย่างภาพด้านบน ปัญหามันอยู่ที่ตัวแบบมันคลานกระดึ๊บๆตลอดเวลา แต่โชคดีนิดหนึ่ง มันมีจังหวะหยุดอยู่กับที่ไม่กี่วินาทีที่พอทำให้ผมถ่ายแบบเลือกจุดโฟกัสได้
– New Batch Job
คือการปรับแต่งภาพหลายๆ ภาพรวมกันครั้งเดียว โดยการคลิกเลือกไฟล์เมนู New Batch Job โปรแกรมจะแสดงหน้าต่างดังภาพล่าง
วิธีการก็เช่นเดิม คลิก Add เพื่อเลือกไฟล์ที่ต้องการ โดยหน้าต่างนี้มี Option ต่างๆ ให้เลือกที่ Output เลือกว่าจะ save file ที่ไหน และ save เป็นไฟล์ประเภทใด เลือกขนาดไฟล์ได้ เลือก Macro คือ ชุดคำสั่งที่ถูกบันทึก (record) ไว้ เพื่อช่วยให้การทำงานในขั้นตอนที่ซ้ำๆ กัน เป็นไปอย่างรวดเร็ว ถ้าเทียบกับ Photoshop ก็คือ Action นั่นเอง ซึ่งตามค่า default ก็มี Macro มาให้จำนวนหนึ่งอยู่แล้ว ดังภาพด้านบน คือ Convert to sRGB, Strip metadata, Black & White, Flip Horizontal และ Flip Vertical การใช้งานไม่จำเป็นต้องใช้ชุดเดียว สามารถใช้งานพร้อมๆ กันได้หลายชุด Macro มาจากการที่เราสร้างชุดคำสั่งขึ้นมาเองก็ได้ ปกติก็ไปที่ เมนู View/Studio/Macro สามารถสร้างได้ที่นี่ซึ่งมีปุ่ม Start recording ให้เราบันทึก Macro ไว้ได้ หรือจะหาจากเว็บต่างๆ ก็ได้ บางเว็บเขาก็แจกฟรี บางเว็บเขาก็ขาย เดี๋ยวเราจะดูเรื่อง Macro กันอีกครั้งในรายละเอียดในส่วนของ Studio Panel
– Open และ Open Recent คงไม่ต้องอธิบายอะไรนะครับ คลิกเพื่อเปิดไฟล์ และ คลิกเพื่อเปิดไฟล์ที่เพิ่งใช้งานมา
– Acquire Image
คือการ scan ภาพจากสแกนเนอร์ โดยโปรแกรมจะเปิดหน้าต่างแบบภาพด้านล่างนี้
ในหน้าต่างนี้ปกติถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับสแกนเนอร์ ก็จะเห็นชื่อเครื่องสแกนเนอร์ปรากฏใน Devices ที่ด้านซ้ายของหน้าต่าง แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผมปรากฏใน Shared อาจเป็นเพราะผมต่อกับสแกนเนอร์ผ่าน Wifi ส่วน Option ต่างๆ ในการสแกนภาพนั้น ต้องคลิกที่ด้านล่างของหน้าต่างนะครับ (ตัวอักษรในภาพไม่ชัด เพราะยังไม่ได้วางภาพที่จะสแกนไว้บนเครื่องสแกน) ช่องแรกก็มีตัวเลือก Detect Separate Items และ Detect Enclosing Box และเลือกขนาดกระดาษ เช่น A4 หรือ US Letter ช่องต่อมาคือ Use Document Feeder ช่องถัดไป คือ Show Details หลังจากเราวางภาพบนเครื่องสแกนเนอร์แล้ว และสุดท้าย คือ Scan หลังคลิกที่ Show Details โปรแกรมก็จะแสดงภาพ Overview ให้เห็นดังภาพด้านล่าง ซึ่งก็จะมี Option ให้เลือกได้เพิ่มขึ้น หลังจากนั้น จึงค่อยคลิก Scan
เมนูนี้นับว่ามีประโยชน์ เป็นการอำนวยความสะดวกในการสแกนภาพถ่ายเก่าๆ ของเราในสมัยที่ใช้กล้องฟิล์มกัน ไม่ใช่ยุค Digital เหมือนปัจจุบัน แถมยังเอามาปรับสีปรับแสงอะไรต่างๆ ได้เพิ่มเติมอีก หรือแม้แต่ภาพขาวดำเก่าๆ เอามาทำ Colourise คือปรับแต่งภาพให้เป็นภาพสีก็ยังได้
– Close ปิดภาพที่กำลังเปิดอยู่ Keyboard Shortcut คือ Cmd+W (Ctrl+W)
– Save ถ้าไฟล์เป็น afphoto ก็ Save เป็น afphoto แต่ถ้าเป็นไฟล์อื่นเช่น Jpeg หรือ Tiff หรือ png ถ้าเราปรับแต่งภาพแล้ว ถ้าไปกด Save จะเป็นการ save ซ้อนไฟล์เดิมไป เป็นการทำลาย pixel เดิมของภาพ ขัดกับหลัก non-destructive editing ภาพดั้งเดิมของเราจะหายไปแบบแก้ไขให้เหมือนเดิมไม่ได้ ซึ่งเราควรจะต้องเลือก Save As แทน แต่ถ้าเรายังยืนยันจะกด Save อยู่ดี โปรแกรมก็จะขึ้นข้อความเตือนแบบภาพด้านล่าง
– Save As
คือ การ save ไฟล์ในรูปแบบ afphoto ซึ่งภาพจะยังคงสภาพเดิมช่วงที่ได้ปรับแต่งภาพไว้ บรรดา Layer ต่างๆ ก็ไม่ได้สูญหายไปไหน เป็นการ save ไฟล์ในฐานะที่เป็นไฟล์ใหม่อีกไฟล์
– Save History with Document
ปกติไฟล์ afphoto ไม่ได้ save ค่า History ไว้ แม้มันจะมี Layer ต่างๆ แสดงไว้ก็ตาม เนื่องจากจะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ถ้าเราต้องการ save history ไว้ด้วย ก็ทำได้โดยใช้เมนู Save History with Document นี้แหละ เราสามารถเลือกค่านี้ได้ทันทีเมื่อเปิดไฟล์ แม้ว่าจะยังไม่ได้ปรับแต่งอะไรกับภาพเลยก็ตาม โปรแแกรมจะแสดง Dialog Box แบบข้างล่างนี้ขึ้นมา การ Save with History หมายความว่า ใครก็ตามที่เราได้ส่งไฟล์ไปให้นั้น จะเห็นขั้นตอนทุกอย่างในการสร้างไฟล์นี้ขึ้นมา
ถ้าเรายังยืนยันจะ Save History ก็กด Yes ไป
– Edit in Designer
นำภาพนั้นไป edit ต่อในโปรแกรม Affinity Designer
– Edit in Publisher
นำภาพนั้นไป edit ต่อในโปรแกรม Affinity Pubher
– Reveal in Finder
ดูไฟล์ภาพผ่านทางโปรแกรม Finder ซึ่งถ้าเป็น Windows ก็จะเป็นเมนู Open Folder in Explorer แทน
– Place
คลิกเลือกไฟล์ใหม่ขึ้นมาเป็น Layer ของภาพที่เราเปิดอยู่แล้ว คือ ทำเป็นภาพซ้อนภาพขึ้นมา เมื่อเลือกภาพแล้ว ต้องคลิกแล้วลากเมาส์จึงจะเห็นภาพที่ซ้อนเข้ามา
– Export
จริงๆ แล้ว จะว่าไป การ Export ก็หมายถึง Save As ในอีกรูปแบบหนึ่ง คือ มันจะหลากหลายขึ้น ไม่เฉพาะเจาะจองแบบว่า ต้อง Save as afphoto format เท่านั้น ดังภาพด้านล่างเมื่อคลิก Export ก็มีฟอร์แมตของไฟล์ให้เลือกถึง 11 แบบ
ซึ่งเราสามารถคลิกเลือกไฟล์ประเภทใดที่ต้องการ Export หรือต้องการ Option ต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น ปรับขนาด Resolution ของไฟล์ก็ทำได้เช่นกัน คุณภาพของไฟล์ ในหน้าต่างยังคำนวนขนาดของไฟล์ว่ากี่ MB ให้เราได้ด้วยก่อนจะคลิกปุ่ม Export หลังจากนั้นก็คลิก Export แล้วเลือกตั้งชื่อไฟล์ และโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์
– Export LUT
LUT (ลัท) ย่อมาจากคำว่า Look Up Table ซึ่งปกติใช้ในโปรแกรมถ่ายภาพยนตร์ ถ่ายวีดีโอ ใช้เพื่อการเกลี่ยสีภาพ หรือที่เรียกว่า Colour Grading เพื่อให้สวยงามตรงตามแนวหรือแต่ละฉากของภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ ในปัจจุบันได้มีการนำ LUT มาใช้กันในโปรแกรมถ่ายภาพ ฟังดูก็คล้ายๆ กับ Preset เพียงแต่ LUT จะเน้นไปที่เรื่องของสีเป็นหลัก ทีนี้ในส่วนของเมนู Export LUT นั้น หลังจากที่เราปรับแต่งภาพของเราแล้ว และต้องการการปรับค่าต่างๆ ที่เราทำไปเก็บไว้เป็น LUT แล้วเลือก Export LUT โปรแกรมก็จะแสดง Dialog Box แบบนี้
Title ตั้งชื่อไฟล์ LUT ส่วนไฟล์ Format ก็เลือกได้ตั้งแต่ .cube, .csp, .3dl และ .Look (LUT only) Quality ก็ตั้งค่าคุณภาพของการปรับแต่งใน LUT ส่วนภาพ Preview ก็เลือกจากไฟล์ของเราเองได้ แล้วคลิก Export
ส่วนการเปิดใช้งาน LUT นั้น เรียกผ่าน Adjustment Layer คลิกตรง icon ด้านล่างของ Layer Panel ที่ Studio Panel ถ้าหา Layer Panel ไม่เจอ ก็เรียกผ่าน Menu Bar/Layer/New Adjustment Layer/LUT
– Export as Template
การ Export ไฟล์ให้เป็น Template คลิกเมนูนี้เพื่อตั้งชื่อไฟล์ Template และเลือกโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ เรื่อง Template นี้ ผมได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นของบทความนี้ จึงขอไม่ลงรายละเอียด ณ ที่นี้ อนึ่ง การสร้าง Template โปรแกรมอนุญาตให้ใช้ผ่านฟังก์ชั่น Save As ได้ คือ ใส่ไฟล์ฟอร์แมตเป็น .aftemplate ก็มีค่าเท่ากับใช้ผ่านเมนู Export as Template
– Import ICC Profile
คลิกเมนูนี้เพื่อ import ICC Profile ที่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ถ้ายังไม่มี เป็น Profile สีสำหรับ Monitor ที่จะแสดงสีได้ถูกต้อง หรือสำหรับ Printer ที่จะพิมพ์สีออกมาได้ถูกต้องเช่นเดียวกัน
เลือก Print เพื่อพิมพ์ภาพ โปรแกรมจะแสดงผลแบบข้างล่าง ซึ่งมี Option ให้เลือกได้มากมาย รวมทั้ง Save เป็นไฟล์ PDF ก็ได้
– Share
คือ การ Share ภาพไปยังคนอื่นผ่าน Mail, Message, Airdrop, Add to Photos และยังตั้งภาพให้เป็นภาพบน Desktop ของเครืองคอมพิวเตอร์ได้ด้วย โดยเลือก Set Background Image (เมนู Share นี้ ผมไม่แน่ใจว่าใน Affinity Photo เวอร์ชั่น Windows มีหรือเปล่า)
– Edit Menu
– Undo ก็คือ Undo หรือยกเลิกการปรับแต่งภาพครั้งล่าสุด ดังภาพด้านบน คือ Undo Unsharp Mask
– Redo ก็คือ Redo กลับไปใช้การปรับแต่งครั้งล่าสุดที่ได้ยกเลิกไปแล้วให้กลับมาใช้ใหม่ ดังภาพด้านบนคือ กลับไป Redo Raster Crop
– Cut ตัดภาพหรือส่วนของภาพที่ต้องการออกไป เพื่อนำไปใช้ในภาพอื่น หรือส่วนอื่นของภาพ
– Copy คัดลอกภาพหรือส่วนของภาพ เพื่อนำไปใช้ในภาพอื่น หรือในส่วนอื่นของภาพ
– Copy Merge คือ copy ภาพจากทุก Layer รวมกัน ไม่ใช่จากเฉพาะ Layer ใด Layer หนึ่ง (ถ้าเข้าใจไม่ผิด ในเวอร์ชั่น Windows เมนูนี้จะเป็น Copy Flattened)
– Paste การนำภาพที่ถูก copy/copy merged มาวางไว้บนภาพ ซึ่งจะเป็น Layer ใหม่ของภาพที่ถูกนำมาวาง
– Paste Style ปกติก็ใช้ Paste Style สำหรับภาพจาก Vector Shape Tool หรือ Text โดยเปิด Style panel จาก Studio Panel แล้วคลิกเลือก Style ที่ต้องการจาก Style Panel
– Paste FX ส่วนใหญ่มันก็ไปด้วยกันระหว่าง Style กับ FX (Effects) เช่นเราเลือก Shape Tool เป็นรูปหัวใจ แล้วคลิกเลือก Style สีแดง แล้วไปคลิกที่ Effects Panel โดยเลือก 3D ผลก็คือรูปหัวใจของเราก็จะกลายเป็น หัวใจแบบ 3D เป็นต้น Option แต่ละตัวสามารถปรับแต่งเพิ่มเติมได้ อนึ่ง การ copy และการเลือก Paste Style/FX นั้น คลิก Layer ให้สัมพันธ์กันด้วย คือ คลิก copy จาก Layer หนึ่ง แล้วนำไป Paste ลงในอีก Layer หนึ่ง
– Paste Inside เป็นการ paste จาก Layer หนึ่งไปยังอีก Layer หนึ่ง หรือจากการ copy ภาพอื่นหรือส่วนของภาพอื่นนำมา Paste ในอีก Layer ของคนละภาพกัน โดย Layer ที่ถูก Paste มานั้น จะอยู่ใต้ Layer หลักที่เราเลือกไว้
– Paste Without Format ใช้กับพวก Text ที่เรา copy มา โดยไม่เอา format ของ text ที่เราได้ปรับแต่งหรือตั้งขนาดรูปแบบไว้มาด้วย คือ เอามาแต่ตัว Text อย่างเดียว และเป็น Text ที่ฟอนต์ ขนาด สี เป็นค่า default ผมทดลองใช้คำสั่งนี้กับฟอนต์ภาษาไทย ปรากฏว่าฟอนต์อ่านภาษาไทยไม่ถูกต้อง เพราะเป็นฟอนต์ Arial ซึ่งวิธีแก้ไม่ยากครับ คลิกที่ Text Tool เลือกฟอนต์ภาษาไทยที่เราต้องการ แล้วเลือกขนาดของฟอนต์ ลักษณะของฟอนต์ และสี แล้วก็คลิกเมนู Edit/Defaults/Save แค่นั้นเอง
– Fill/Fill With Primary Colour/Fill With Secondary Colour
เมนู Fill ทั้ง 3 เมนูนี้ รวมอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เพื่อการใส่สีลงไปในส่วนที่เลือกไว้ หากเลือก Fill เราก็จะได้ในส่วนของ Fill With Primary Colour และ Fill With Secondary Colour มาพร้อมกันใน Dialog Box เดียว พร้อมมี Blend Mode และกำหนดค่า Opacity ได้ด้วย (ดังภาพข้างล่าง) แต่ถ้าเลือก Fill With Primary Colour หรือ Fill With Secondary Colour ก็จะได้สีตาม Primary หรือ Secondary ที่กำหนดไว้
Matte ใช้เพื่อเคลือบสีในส่วนของภาพที่เราได้ทำให้เป็น Transparent หรือโปร่งแสง ไปแล้ว คลิกเลือกเมนู Matte โปรแกรมจะแสดง Dialog Box คล้ายๆ กับเมนู Fill แต่ตัวเลือกน้อยกว่า คลิกเลือก Custom Colour เพื่อเลือกสีที่ต้องการ หรือจะเลือกสีที่เป็น Primary หรือ Secondary ในขณะนั้นอยู่แล้ว
– Inpaint ทำหน้าที่แบบเดียวกันกับ Inpainting Brush Tool ที่ Tool Panel คือ เป็นเครื่องมือลบวัตถุที่ไม่ต้องการในภาพ เพียงแต่ Inpaint ในเมนูนี้ เราต้องเลือกส่วนของภาพที่ต้องการลบไว้ก่อนด้วยเครื่องมือพวก Selection Tool แล้วคลิกเมนู Inpaint วัตถุที่อยู่ในส่วนที่เราเลือกเอาไว้ก่อน มันก็จะหายไปทันที
– Defaults มีเมนูย่อยให้เลือก 4 เมนู คือ Synchronise from Selection/Save/Revert/Factory Reset ซึ่งเมนูนี้ใช้กับพวก Vector Shape Tool และ Text Tool เท่านั้น
Synchronise from Selection ใช้กับ Vector Shape Tool ตัวไหนก็ได้ ที่เราจะซิงค์เฉพาะ attribute ของ Fill และ Stroke เช่น คลิกเลือก Vector Shape Tool รูปหัวใจ กำหนดสี Fill เป็นสีแดง และเลือก Stroke สีเหลือง พร้อมกำหนดขนาด point ของ Stroke ด้วย ที่ Context Toolbar เราก็จะได้ภาพหัวใจสีแดงมีขอบสีเหลือง แล้วคลิกเมนู Default/Synchoronise from Selection (ถ้าเมนู Synchoronise from Selection เป็นสีเทาจาง ให้คลิกที่รูปหัวใจในภาพเพื่อทำการเลือก เมนู Synchoronise from Selection จึงจะปรากฏให้เราคลิกเลือกได้) จากนั้น ถ้าเราต้องการเพิ่ม Vector Shape Tool ตัวอื่นลงในภาพ ก็คลิกเลือก แล้วเราก็จะได้ Stroke และ Fill attribute ตรงกันกับของรูปหัวใจ เช่น เลือกรูปสามเหลี่ยม เราก็จะได้สามเหลี่ยมสีแดงขอบสีเหลืองในภาพ เมนูนี้ใช้ได้เฉพาะการสร้างรูปภาพในไฟล์เดียวกันเท่านั้น ไม่สามารถนำค่า attribute ไปใช้ในไฟล์ภาพใหม่ได้
Save ต้องใช้คำสั่งนี้ หากต้องการนำค่า attribute ไปใช้กับภาพใหม่ต่อไป ก็คือกำหนดให้เป็นค่า default
Revert ใช้คำสั่งนี้เพื่อให้ย้อนกลับไปใช้ค่า default ที่ถูก Save ไว้
Factory Reset ใช้คำสั่งนี้เพื่อลบการตั้งค่า attribute หรือค่าตัวแปรนี้ให้กลับไปสู่ค่า default ของโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตได้ตั้งค่าไว้ (ไม่ใช่ค่า default ที่เราใช้คำสั่ง Save ไว้) ส่วนการเปลี่ยนค่า attribute ของ Text Tool นั้น ก็ทำได้เช่นกัน ทั้งในส่วนของ Artistic Text attributes and Frame Text attributes หลักการก็เช่นเดียวกันกับ Vector Shape Tool ซึ่งในเรื่อง Text นี้ ได้ยกตัวอย่างไปแล้วในหัวข้อ Paste Without Format ในส่วนของการกำหนดค่าฟอนต์ให้ใช้ฟอนต์ภาษาไทยได้
– Create Style กรณีเราใช้ Style จาก Style Panel ในส่วนของ Studio Panel นั้น เราได้เลือก Style แล้วปรับแต่งจนพอใจ และต้องการจะ save style แบบนี้ไว้ ก็เลือกเมนู Create Style ตัวนี้ไว้ ซึ่งมันจะถูกเพิ่มไว้ใน Style Panel หรือจะใช้คำสั่ง Create Style โดยคลิกขวาที่ภาพของเราที่ได้ปรับแต่ง Style แล้วเลือก Create Style ก็ได้เช่นกัน Style ใหม่ที่เราเพิ่งสร้างขึ้นมานี้ โปรแกรมจะใส่ชื่อเป็นหมายเลขไว้ เช่น Style 25 เราคลิกขวาที่ชื่อนั้นเพื่อเปลี่ยนชื่อได้
– Start Dictation มีเฉพาะใน Mac นะครับ ใช้ประโยชน์จาก Siri ของ Apple ลองใช้เสียงพูดสั่งให้พิมพ์โดยใช้ Artistic Text Tool ก็พิมพ์ได้ในระดับหนึ่ง ใช้ภาษาไทยก็ได้ แต่ไม่สะดวกถ้าจะพิมพ์ยาวๆ สรุปว่า ทางที่ดีใช้มือพิมพ์เอาเถอะ
– Emoji & Symbols มาพร้อมกับเครื่อง Mac แต่ Affinity Photo ไม่สามารถนำ Emoji ใช้ได้ตรงๆ คงต้องไปแปลงให้เป็นไฟล์ png เสียก่อน โดยใช้โปรแกรมพวก Emoji extractor แต่ Symbols นั้น บางส่วนสามารถนำมาใช้ได้ เช่น Letterlike Symbols และ Pictographs
สำหรับเมนู Preferences บนโปรแกรมเวอร์ชั่น Windows นั้น ผมได้กล่าวไว้แล้วในส่วนของ Affinity Photo Menu ของเวอร์ชั่น Mac ซึ่งได้วางเมนู Preferences ไว้ต่างที่กัน
– Text Menu
ปกติเวลาเราใช้ Text Tool นั้น เราเลือก Option ต่างๆ ของ Text Tool ได้จาก Context Toolbar ซึ่งก็นับว่าเพียงพอต่อการใช้งานแล้ว อย่างไรก็ดี ทางโปรแกรมได้เพิ่มเติม Option ให้อีกผ่านทาง Text Menu ได้แก่
– Show Character/Typography/Paragraph/Text Styles/Glyph Browser คงไม่ต้องอธิายอะไรนะครับ ภาพข้างล่างนี้แสดงให้เห็นภาพของแต่ละเมนู ซึ่งชื่อของเมนูก็อธิบายได้ในตัวเองอยู่แล้วว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และส่วนใหญ่ก็เรียกใช้งานผ่าน Studio Panel ก็ได้เช่นเดียวกัน
– Character Traits/Size/Spacing/Ligatures/Baseline/Capitalisation นี่ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีอยู่ใน Context Toolbar ของ Text Tool อยู่แล้ว ก็นำมาบรรจุไว้ในส่วนของ Text Menu อีกทีหนึ่ง
– Alignment/Paragraph Leading/Vertical Alignment ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ก็มีอยู่แล้วที่ Context Toolbar ไม่มีก็เฉพาะ Vertical Alignment ที่มีเมนูย่อยแยกออกเป็น Top/Centre/Bottom/Justify
– Text Styles เมนูนี้ประกอบด้วยเมนูย่อยอีกมาก โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังภาพด้านล่าง
หากคลิกเลือก Create Paragraph Style โปรแกรมจะแสดง dialog box แสดง option ต่างๆ เยอะแยะไปหมด ดังภาพข้างล่างนี้
ส่วนที่ 2 ในเมนูกลุ่มนี้ คือ Create Character Style โปรแกรมจะแสดง dialog box พร้อม option ต่างๆ ดังนี้
สำหรับเมนูในกลุ่มที่ 3 นี้ คงไม่ต้องอธิบายอะไรอีกเช่นกันเพราะชื่อของเมนูก็บอกอยู่แล้วว่ามันจะทำอะไร
– Reapply Text Style/Reapply Base Style เมนูแรกก็ตามชื่อ คือ apply text style อีกครั้ง ส่วน reapply base style ก็กลับไปใช้ text style เดิมตอนเริ่มแรก
– Insert Filler Text คือใส่ข้อความตัวอย่าง หรือ dummy text ลงไปใน Frame Text ซึ่งค่อยมาใส่ text จริงๆ ในภายหลังได้ ซึ่ง dummy text นี้ ในงานกราฟฟิกอาจจะเริ่มต้นด้วยคำว่า Lorem Ipsum ………… หรือคำอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน ซึ่งใน Preferences หัวข้อ General มีช่องให้ติ๊ก Insert filler text as text ตรวจดูด้วยครับ
– Insert Character มีเมนูย่อยลงไปอีกเพื่อใส่ตัว Character ต่างๆ ดังภาพด้านล่าง
– Spelling มี option ตรวจการสะกด การตรวจคำสะกด (Check Spelling) หรือตรวจคำสะกดไปในระหว่างพิมพ์ก็ได้ (Check Spelling While Typing) คำไหนสะกดผิด ก็จะมีเส้นใต้คำนั้นเป็นสีแดง สำหรับภาษาไทยนั้น ผมลองดูแล้ว มันใช้ตรวจสอบคำผิดภาษาไทยไม่ได้ครับ
– Show All Text/Hide All Text เมนูใช้เพื่อแสดงและซ่อน text
– Document Menu
– Add Snapshot เป็นการเก็บประวัติของการปรับแต่งภาพในขั้นตอนที่เราต้องการเก็บไว้ ซึ่งสามารถย้อนกลับมาได้ โดยการคลิกเมนู Add Snapshot โปรแกรมจะแสดง Dialog Box ให้เรา Add Document Snapshot โดยตั้งชื่อ Snapshot ตามที่ต้องการได้
– Restore Snapshot หลังจากที่เราได้ Add Snapshot แล้ว หลังจากนั้เนได้ปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม แต่ไม่พอใจในผลงาน อยากจะกลับไปยังจุดเดิมที่เคยบันทึกหรือเก็บประวัติ Snapshot ไว้ ก็เพียงแค่คลิกเมนู Restore Snapshot ที่เราได้บันทึกไว้
– Convert Format/ICC Profile เป็นการเลือก colour profile ซึ่ง ICC ย่อมาจาก International Colour Consortium ซึ่งเป็น Profile สีที่ใช้ในการพิมพ์ภาพ เลือกให้เหมาะกับอุปกรณ์ที่จะใช้ ซึ่งเมื่อเราคลิกเมนูนี้ โปรแกรมจะแสดง Dialog Box ดังภาพด้านล่างนี้
– Assign ICC Profile กำหนด ICC Profile สำหรับภาพ ดังภาพแสดงด้านล่าง
– Resize Document ใช้เมนูนี้เพื่อเปลี่ยนขนาดของภาพ โปรแกรมก็จะแสดง Dialog Box ดังภาพด้านล่าง เราก็เลือก option ตามต้องการว่าจะเปลี่ยนตรงไหนอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะตรง size มีไอคอนกุญแจปิดอยู่ หมายความว่าความกว้างและความสูงจะสัมพันธ์กัน ถ้าคลิกกุญแจให้เปิดออก ความกว้างและความสูงของภาพจะไม่สัมพันธ์กัน ส่วน DPI หรือ Dots per Inch สามารถเลือกเปลี่ยนค่าได้ ซึ่งจะทำให้ขนาดของภาพจะเปลี่ยนตามไปด้วย รวมทั้งมีตัวเลือก Resample ได้ด้วยว่าต้องการแบบใด คือ Nearest Neighbour, Bilinear, Bicubic, Lanczos 3 (separable) และ Lanczos 3 (non-separable) ซึ่งแต่ละแบบจะมีคุณลักษณะต่างกัน
– Resize Canvas เป็นการกำหนดขนาดกรอบของภาพเสียใหม่ ทั้งนี้ ไม่ได้มีผลต่อขนาดของตัวภาพ สามารถกำหนดตำแหน่งหรือการวางแนวของจุดยึดหรือ Anchor สำหรับ Canvas ของภาพได้ หรือจะใช้เมนูนี้เพื่อประโยชน์ในขยายภาพเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งของภาพก็ทำได้เช่นกัน (โดยมีขั้นตอนเพิ่มขึ้น)
ตัวอย่างภาพด้านล่าง ภาพแรกเป็นภาพธรรมดา แล้ว Resize Canvas เป็นภาพที่ 2 ซึ่งปกติส่วนของ Canvas จะโปร่งแสงหรือไม่ก็เป็นสีขาว หากแสดงบนเว็บซึ่งมีพื้นสีขาวแบบนี้ จะทำให้มองไม่เห็น Canvas ผมเลยใช้ Flood Fill Tool เติมสีน้ำตาลลงไปบน Canvas จะได้เห็นชัดๆ ส่วนการวาง Anchor นั้น วางไว้ที่จุดตรงกลาง
– Margin กำหนดการตั้งค่าระยะขอบของภาพ ปกติใช้ในการพิมพ์ภาพ โดยกำหนดระยะขอบบนล่างซ้ายขวากี่ pixel หรือจะกดปุ่มเลือกการตั้งค่า Margin จาก Printer ก็ได้
– Resize Pixel Art Document ใช้เมนูนี้เพื่อขยายภาพที่มีขนาดเล็กให้ใหญ่ขึ้น และมีผลกระทบกับ pixel น้อยสุด โดยเลือกขยายภาพได้ 2 เท่า 3 เท่า และ 4 เท่า
– Transparent Background กำหนดให้ค่าพื้นที่ background โปร่งใส หมายความว่า เมื่อเราได้ใช้เครื่องมือ Selection กับส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพ แล้วกด delete selection นั้น ตรงส่วนนั้นก็จะโปร่งใสทันที ถ้าเราไม่คลิกเลือก Transparent Background พื้นที่ที่เราเลือกไว้แล้วกด delete ก็จะกลายเป็นพื้นสีขาวแทนที่จะโปร่งใส
– Clip Canvas และ Unclip Canvas ใช้ Clip Canvas เพื่อเอาออกหรือลบส่วนของ Canvas ที่ไม่ต้องการ หรือลดขนาดของ Canvas ให้เท่ากับตัวภาพ ส่วนการใช้ Unclip Canvas ก็เพื่อขยายพื้นที่ของ Canvas
– Rotate 90° Clockwise/Anticlockwise/Flip Horizontal/Vertical เมนูนี้ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน ใช้เพื่อการหมุน (Rotate) ภาพตามเข็มหรือทวนเข็มนาฬิกา และก็พลิก (Flip) ภาพแบบกลับซ้ายขวาและกลับหัวกลับหาง
– Flatten คือคำสั่งรวม Layer ทุก Layer มารวมอยู่ใน Layer เดียว อันนี้แบบว่ารวมแล้วรวมเลย ไม่เหมือนกับเมนู Merge ใน Layer Menu ที่จะพูดถึงในช่วงต่อไป
– Layer Menu
– Fade Invert ปกติเมนู Fade จะไม่ขึ้นให้ใช้งานได้ เว้นแต่เราจะ edit อะไรบางอย่างเข้าไปในภาพเช่น พวก Filter หรือ effect หรือ Tool ต่างๆ ซึ่งจะทำให้เมนู Fade ใช้งานได้ โดยมี Slider เลื่อนเปอร์เซ็นต์ Fade พร้อมทั้งใช้งาน Blend Mode ควบคู่ไปด้วยก็ได้ ดังภาพ Dialog Box ด้านล่าง
– Invert เปลี่ยนภาพปกติให้เป็นภาพแบบ Negative
– New Layer สร้าง Pixel Layer ใหม่ขึ้นมา
– New Layer From Snapshot สร้างเลเยอร์ใหม่จาก Snapshot ที่เราได้ save ไว้ แต่ถ้าไม่มี โปรแกรมจะสร้าง Background Layer ให้แทน
– New Group สร้างเลเยอร์ Group แล้วคลิกลากเลเยอร์อื่นๆ เข้ามาอยู่ใน Group ได้
– New Fill Layer สร้างเลเยอร์ใหม่พื้นสีขาวล้วน แต่เราจะไปเปลี่ยนเป็นสีอะไรก็ได้หลังจากสร้างเลเยอร์นี้ขึ้นมา
– New Mask Layer สร้าง Mask Layer ขึ้นมา
– New Empty Mask Layer สร้าง Mask Layer เปล่าขึ้นมา ซึ่งจะซ่อนเลเยอร์ทั้ง Layer ด้วยสีดำ คลิก Option (Alt)+ Thumbnail ของ Mask Layer เลเยอร์จะแสดงเป็นสีดำ ใช้ Brush ระบายสีด้วยสีขาวตรงส่วนใดของภาพ ส่วนนั้นก็จะปรากฏขึ้นมา ตามหลัก Black conceals, White reveals ที่เคยกล่าวถึงไว้ (ในตอนที่ 1) ซึ่งตรงข้ามกับ New Mask Layer เมื่อคลิก Option (Alt)+ Thumbnail ของ Mask Layer เลเยอร์จะแสดงเป็นสีขาว แล้วใช้ Brush ระบายสีดำ ก็จะเป็นการซ่อนส่วนที่เราระบายสีดำ
– New Adjustment Layer ประกอบด้วย Adjustment Layer 22 แบบ ดังภาพด้านล่าง
ขออธิบายสั้นๆ สำหรับ Adjustment Layer แต่ละตัว ซึ่งปกติมันก็แสดงอยู่ใน Studio Panels อยู่แล้ว เพียงแต่ถ้าเราเลือกใช้ผ่าน Menu Bar/Layer Menu/New Adjustment Layer นั้น Dialog Box แสดง Adjustment Layer ของแต่ละตัวจะแสดงแยกออกมาจาก Studio Panels เป็นแบบ Floating ให้เราปรับแต่งได้สะดวกขึ้น มีรายละเอียดมากขึ้น พร้อมมี Blend Mode ให้ด้วย แต่การปรับผ่าน Studio Panels โปรแกรมจะแสดง Option แบบ Auto ให้เลือก
– Exposure Adjustment การชดเชยแสง ใช้เพื่อปรับแสงให้สว่างหรือลดลง และมีสไลเดอร์ปรับ Blackpoint กับ Brightness ได้ด้วย โดย Blackpoint และ Brightness นี้ มีลักษณะเป็น global effect คือ ปรับให้มืดหรือสว่าง มันจะมีผลต่อภาพทั้งภาพ
– Levels Adjustment เป็นการปรับระดับความเข้มของความมืด (Black Level) และความสว่าง (White Level) ของภาพ
– White Balance Adjustment คือ การปรับอุณหภูมิสี โดยปรับเลื่อนสไลด์ที่ Temperature และ Tint ซึ่งการปรับ White Balance ใน Photo Persona จะปรับค่าได้น้อยกว่าทำใน Develop Persona เพราะไม่ใช่ไฟล์ Raw
– Brightness/Contrast Adjustment ใช้ปรับค่าความสว่างและความคมเข้มในการตัดกันของสีในภาพ
– Shadows/Highlights Adjustment ใช้ปรับค่าเงามืดให้สว่างขึ้น และปรับลดความสว่างของภาพในส่วนที่สว่างเกินไป การปรับค่าทั้ง 2 ค่านี้ มีลักษณะเป็น local effect คือ มีผลต่อการปรับเฉพาะส่วนของภาพที่เป็นเงามืด และส่วนที่สว่างของภาพ
– Curves Adjustment เป็นเครื่องมือปรับแต่งที่มีประสิทธิภาพ ใช้เพื่อปรับแสงความสว่างความมืดของภาพ และยังแยกปรับตามสี RGB แต่ละสีได้ด้วย อาจจะใช้ยากหน่อย แต่ถ้าเข้าใจหลักและวิธีใช้แล้วจะเป็นประโยชน์มากทีเดียว
– Channel Mixer Adjustment เป็นการลดหรือเพิ่มน้ำหนักของสีหลักในภาพ โดยต้องเลือกโหมดสีก่อน เช่น RGB, CYMK, Gray, LAB แล้วมาปรับค่าของสีแต่ละ Channel เช่น สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน เป็นต้น
– Selective Colour Adjustment เลือกปรับสีแต่ละสี และยังมี Option ให้เลือกในส่วนของ Relative คือ ปรับสีแล้วสัมพันธ์กับสีอื่นๆในภาพด้วยหรือไม่ หรือจะไม่เลือกในส่วนของ Relative คือ ปรับสีนั้นสีเดียวไปแลย
– Colour Balance Adjustment เป็นการเลือกปรับโทนของสีก่อน คือ เลือก Tonal Range ระหว่าง Shadows หรือ Midtones หรือ Highlights แล้วจึงเลือกปรับค่าสีต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วย Cyan/Red, Magenta/Green, Yellow/Blue
– Gradient Map Adjustment เป็นเรื่องของการเปลี่ยนสีภาพทั้งภาพ ซึ่งออกไปในแนว creative สักหน่อย และมี Blend Mode ให้ใช้ด้วย
– Black & White Adjustment ปรับภาพเป็นขาวดำ
– HSL Adjustment คือ ปรับค่า Hue, Saturation, Luminosity โดยผู้ใช้สามารถเลือกปรับเฉพาะสีแต่ละสีได้ มีเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการเลือกสี คือ Colour Wheel และ Picker ให้ใช้ รวมทั้ง Blend Mode และ Opacity ดังภาพด้านล่าง
– Recolour Adjustment ปรับเปลี่ยน Hue, Saturation และ Lightness เพื่อเปลี่ยนสีของภาพทั้งภาพ ต่างกับการปรับเปลี่ยน HSL ซึ่งเลือกเฉพาะสีใดสีหนึ่งได้
– Posterise Adjustment ปรับเปลี่ยนภาพให้เป็นแนว Posterise โดยเลือกปรับ Posterize Levels ได้
– Vibrance Adjustment ปรับค่า Vibrance และ Saturation เพื่อเร่งสีให้ดูสดใสขึ้น
– Soft Proof Adjustment เป็นกาารจำลองสีของภาพก่อนที่จะพิมพ์บนกระดาษ ซึ่งมี option ปรับแต่งแก้ไขสีให้ถูกต้องตามที่ต้องการ โดย Setting ประกอบด้วย Proof Profile, Rendering Intent, Black point compensation และ Gamut check
– LUT Adjustment การปรับแต่ง LUT โดยต้อง load LUT ขึ้นมาเพื่อใช้งาน หรือจะเลือกใช้ Infer LUT คือ แทนที่จะเลือกไฟล์ LUT ขึ้นมา แต่เลือกไฟล์ภาพอื่น 2 ภาพ ซึ่งเป็นไฟล์เดียวกัน คือ แบบยังไม่ปรับแต่ง กับที่ปรับแต่งแล้ว โปรแกรมจะ infer แปลว่าอะไรดี คล้ายๆ กับการสรุปรวมผลโทนสีของภาพจากไฟล์ 2 ภาพ นั้น นำมาแสดงในภาพที่เรากำลังปรับแต่งอยู่ เรายังสามารถ save ไว้เป็น LUT เอาไว้ใช้ได้อีก
– Lens Filter Adjustment เลือกสีของฟิลเตอร์ แล้วปรับค่า Optical density คือ ค่าความเข้มของเลนส์ฟิลเตอร์
– Split Toning Adjustment ใช้ปรับแต่งสีในส่วนของ Highlight กับ Shadow โดยเลือกปรับได้ทั้งในส่วนของ Highlights Hue/Saturation และ Shadow Hue/Saturation
– OCIO Adjustment ชื่อเต็มคือ OpenColorIO Adjustment ใช้สำหรับปรับโทนสีของภาพ โดยต้องเลือก Source Color Space เพื่อแปรรูป กับเลือก Destination Color Space ซึ่งการจะใช้ Adjustment Layer นี้ได้ ต้องใช้เฉพาะกับภาพระบบสี 32 บิท เท่านั้น และยังต้องไปตั้งค่า OpenColorIO ก่อน ที่ Preferences/Colour/OpenColorIO Configuration File เสร็จแล้ว ต้อง restart โปรแกรม ถึงจะใช้งาน OCIO Adjustment ได้
– Invert Adjustment คือ การกลับสีในภาพให้เป็นสีตรงข้าม เช่น ดำเป็นขาว หรือขาวเป็นดำ ผลที่ได้คือ ภาพแบบ negative
– Threshold Adjustment การปรับภาพสีให้เป็นแบบ 2 tone ซึ่งก็คือ ภาพขาวดำ โดย Threshold ในการปรับภาพจะแบ่งเป็นเกณฑ์ระหว่าง 0% คือ ขาวล้วน ถึง 100% คือ ดำสนิท
– New Live Filter Layer ไลฟ์ฟิลเตอร์เลเยอร์นี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่ม effect ต่างๆ ให้กับภาพ ได้แก่ Blur, Sharpen, Distort, Noise, Colours, Lighting, Shadows/Highlights ดังภาพเมนูด้านล่าง
– Blur ยังประกอบไปด้วย Blur Filter แบบ ต่างๆ คือ Gaussian Blur, Box Blur, Median Bur, Bilateral Blur, Motion Blur, Radial Blur, Lens Blur, Depth of Field Blur, Field Blur, Diffuse Glow Blur, Maximum Blur, Minimum Blur เอาเป็นว่าทดลองใช้กับภาพดูเองก็แล้วครับว่า Blur แต่ละแบบเป็นอย่างไร แต่ปกติแล้วส่วนใหญ่เราก็ใช้ Gaussian Blur ซึ่งทำให้ภาพเบลอนุ่มขึ้นและยังช่วยปกปิด noise ไปในตัว
– Sharpen ฟิลเตอร์เพิ่มความคมชัดของภาพประกอบไปด้วย Clarity, Unsharp Mask และ High Pass
– Distort ฟิลเตอร์ทำให้ภาพผิดรูปหรือบิดเบี้ยวไป โดยเมนูย่อยประกอบไปด้วย Ripple, Twirl, Spherical, Displace, Pinch/Punch, Lens Distortion, Perspective
– Noise ฟิลเตอร์ใช้สำหรับ Denoise คือ ลด Noise และมีฟิลเตอร์ Add Noise คือ เพิ่ม Noise มีฟิลเตอร์ Diffuse คือ เพิ่ม Noise ตรงขอบภาพ สุดท้าย คือ Dust & Scratches ใช้เพื่อกำจัดรอยฝุ่นและรอยขีดข่วน
– Colours ในฟิลเตอร์นี้มีเมนูย่อยประกอบด้วย Halftone, Vignette, Defringe, Voronoi, Procedural Texture โดย Halftone เป็นฟิลเตอร์ใช้แปลงภาพให้ดูเหมือนภาพนั้นประกอบไปด้วยจุดต่างๆ มารวมกันเป็นภาพถ่าย ฟิลเตอร์ Vignette ใช้เพื่อเพิ่มความมืดที่มุมภาพ หรือจะลดความมืดลง ก็ได้เช่นกัน ฟิลเตอร์ Defringe ลดภาพที่มีขอบสีม่วง (purple fringing) บริเวณภาพระหว่างรอยต่อของขอบวัตถุกับพื้นหลังที่มีความสว่าง ฟิลเตอร์ Voronoi เพื่อสร้างภาพให้เป็นลักษณะภาพประกอบไปด้วยรูปหลายๆ เหลี่ยม คล้ายๆ กับ Mosaic
สุดท้ายในกลุ่มนี้ คือ ฟิลเตอร์ Procedural Texture ใช้เพื่อสร้างฟิลเตอร์ texture effects ให้กับภาพ และยังสร้าง preset ของฟิลเตอร์นี้ไว้ใช้เองได้ด้วย ขอยกตัวอย่าง Dialog Box การใช้งานฟิลเตอร์นี้
โดยการใช้งาน ปกติเราจะเลือกจาก Preset ที่โปรแกรมมีมาให้ ภาพข้างต้นนั้นเลือกใช้ Preset Metallic ซึ่งโปรแกรมจะแสดง Equations หรือสมการของ Preset นี้ ซึ่งเราสามารถปรับค่าสมการได้ และยังปรับค่าในส่วนของ Custom Inputs ได้อีกเช่นกัน ตลอดจนการปรับในส่วนของ Opacity และ Blend Mode ดูเผินๆ อาจจะเข้าใจยาก แต่มีวิธีที่จะทำความเข้าใจกับ Procedural Texture โดยควรค้นดูใน Youtube ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ลงไว้มากพอสมควร
– Lighting ฟิลเตอร์ตัวนี้ใช้สำหรับส่องแสงไปยังส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพ ซึ่งมีการตั้งค่าต่างๆ ให้เลือกได้อย่างหลากหลาย ซึ่งในภาพด้านล่างเป็นให้แสงส่องไปยังระฆังที่แขวนไว้ และลดความสว่างของแสงล้อมรอบ หรือ Ambient Light ลง เพื่อใช้แสงสีเหลืองเน้นไปที่ตัวระฆังทั้งใบ
– Shadows/Highlights ใช้ปรับค่าเงามืดให้สว่างขึ้น และปรับลดความสว่างของภาพในส่วนที่สว่างเกินไป อาจมีคนสงสัยว่า ทำไมในเมนู New Adjustment Layer มันก็มี Shadows/Highlights เหมือนกันไม่ใช่หรือ แล้วทำไมมาโผล่อยู่ตรงนี้อีก ก็ขอบอกว่า การตั้งค่า Shadows/Highlights ในเมนูนี้ มันตั้งค่าได้ละเอียดมากกว่าเยอะเลย
– Live Projection ประกอบด้วยเมนูย่อยอีก 4 เมนู คือ Remove Projection, Edit Live Projection, Equirectangular Projection, Perspective Projection โดยเมนูนี้จะใช้กับภาพ 2 แบบ คือ ภาพ 360 องศา และภาพที่เราต้องการแก้ไขหรือช่วงงานตัดต่อภาพ Perspective
Equirectangular Projection ใช้สำหรับดูภาพพาโนรามาแบบ 360 องศา ซึ่งปกติเป็นภาพที่ถ่ายโดยใช้กล้อง 360 องศา หรือโดยกล้องธรรมดาก็ได้ แต่ต้องผ่านการปรับแต่งจากโปรแกรมเฉพาะทางมาแล้วในการต่อภาพให้เป็น 360 องศา (กล้องมือถือก็ทำได้เช่นกันโดยผ่าน App บางตัว) ตัวอย่างภาพด้านล่างเป็นภาพ 360 องศา ที่ผมเอามาจากเว็บ Unsplash ซึ่งแสดงเป็นภาพ 2 มิติที่เรียกว่า unmapped equirectangular image
![]() |
Credit: Timothy Oldfield |
เมื่อเราเปิดภาพ 360 องศา เข้ามาในโปรแกรม ก็คลิกเลือก Equirectangular Projection เราก็สามารถลากเมาส์แพนภาพดูได้รอบทิศทาง คือ ให้ภาพมันกลายเป็น mapped equirectangular image ซึ่งโปรแกรมก็จะเข้าสู่เมนู Edit Live Projection ให้เราแก้ไขตกแต่งโดยใช้เครื่องมือต่างๆ ได้ ถ้าเราแก้ไขภาพไปจุดหนึ่งแล้ว เราจะไม่อาจแพนภาพต่อไปได้ ก็ต้องคลิกเลือกเมนู Edit Live Projection เพื่อแพนภาพต่อไป ถ้าเราแก้ไขภาพเสร็จแล้ว ต้องการออกจาก Projection ก็คลิกเมนู Remove Projection เราก็จะได้ภาพแบบ 2 มิติ ดังภาพด้านบน
สำหรับ Perspective Projection นั้น ใช้ปรับแก้ไขภาพในบางจุดให้สัดส่วนถูกต้อง โดยเฉพาะภาพสถาปัตยกรรม Perspective Projection มีลักษณะการทำงานของเมนูเช่นเดียวกับ Equirectangular Projection เมื่อเราแก้ไขสัดส่วนของภาพในเมนู Edit Live Projection ออกจากเมนู Projection โดยคลิกเลือก Remove Projection มีข้อสังเกตนะครับ ว่า Perspective Projection นี้ การใช้งานต่างกับ Perspective Tool (ที่เคยเขียนไว้ในตอนที่ 1) โดย Perspective Tool จะแก้ไขสัดส่วนของภาพในภาพรวมทั้งหมด แต่ใน Perspective Projection เราจะใช้แก้ไขปรับแต่งบางจุดในภาพ เช่น ภาพถ่ายในห้องทำงาน บนโต๊ะมีคอมพิวเตอร์ แต่ปิดเครื่องอยู่ หากเราต้องการใส่ภาพลงในหน้าจอคอมพิวเตอร์ แต่ภาพจอคอมพิวเตอร์มันมีสัดส่วนที่เอียงอยู่ เพราะเราไม่ได้ถ่ายภาพจอคอมพิวเตอร์ตรงๆ ดังนั้น ภาพที่จะเอามาวางไว้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ก็จะต้องเอียงให้ได้สัดส่วนตามไปด้วย กรณีเช่นนี้ Perspective Projection จะเข้ามาช่วยได้ เป็นต้น
– Delete/Duplicate/Duplicate Selection เลเยอร์นี้ไม่มีอะไรซับซ้อน Delete ก็คือ ลบเลเยอร์ Duplicate ก็ทำสำเนาเลเยอร์ ส่วน Duplicate Selection ก็ทำสำเนาเลเยอร์ของภาพในส่วนที่เราได้ select หรือเลือกไว้
– Lock/Unlock/Unlock All ใช้ Lock เพื่อล็อกไม่ให้เปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนย้ายวัตถุในภาพ/ปลดล็อก/ปลดล็อกเลเยอร์ทั้งหมด
– Hide/Show/Show All ใช้เพื่อติ๊กหรือไม่ติ๊กเครื่องหมายถูกที่เลเยอร์ ถ้าเลเยอร์นั้นถูกติ๊กไว้ก็หมายถึง Show คือ แสดงเลเยอร์ ไม่มีเครื่องหมายติ๊กหมายถึง Hide คือ ซ่อนเลเยอร์นั้น
– Merge Down/Merge Selected/Merge Visible เลเยอร์นี้ใช้สำหรับการรวมเลเยอร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน โดย Merge Down หมายถึง การรวมเลเยอร์ระหว่างเลเยอร์ที่เราเลือกไว้กับเลเยอร์ด้านล่าง ส่วน Merge Selected คือ คลิกเลือกเลเยอร์ร่วมกันแล้วใช้คำสั่งนี้ เลเยอร์ทั้งหมดก็จะกลายเป็นเลเยอร์เดียวเท่านั้น และสุดท้าย Merge Visible คือ การรวมเลเยอร์ที่แสดงผลทั้งหมดเข้าด้วยกัน คือ ทุกเลเยอร์ที่มีเครื่องหมายติ๊กไว้ที่เลเยอร์ โดยโปรแกรมจะสร้างเลเยอร์ใหม่ให้ ทั้งนี้ เลเยอร์เดิมไม่ได้ถูกลบทิ้งแต่อย่างใด
– Rasterise & Trim โดย Rasterise Layer จะแปลงเลเยอร์เว็กเตอร์ให้เป็น pixel ขณะเดียวกัน ก็จะ trim คือ ลดขนาดของเลเยอร์ให้สอดคล้องกับขนาดกับ pixel นั้นด้วย
– Rasterise แปลงเลเยอร์เว็กเตอร์ให้เป็น pixel
– Rasterise to Mask จะแปลงเลเยอร์ให้เป็นเลเยอร์ Mask
– Geometry/Convert to Curves/Convert to Text Path/Refine Mask เลเยอร์ในกลุ่มเมนูนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับเว็กเตอร์ที่นำมาใช้ใน Affinity Photo ปกติเวลาใช้งานกับ text แล้วต้องการปรับเปลี่ยนรูปร่างของ text ให้เป็นเว็กเตอร์ ก็ใช้เลเยอร์ในกลุ่มนี้ได้
– Select Menu
– Select All/Deselect/Reselect คือ ใช้ Selection Tool เลือกทั้งภาพ/ยุติการเลือก/เลือกอีกครั้ง
– Invert Pixel Selection คือการปรับเปลี่ยนการเลือกให้ตรงข้ามกัน เช่น เราใช้ Rectangular Marquee Tool เลือกส่วนบนของภาพไว้ แล้วใช้เมนู Invert Pixel Selection ส่วนล่างของภาพก็จะกลายเป็นส่วนที่ถูกเลือกแทน
– Selection From Layer คลิกเลือกเลเยอร์ Pixel ก่อน แล้วเลือก Selection From Layer
– Selection From Layer and Delete คลิกเลือกเลเยอร์ Pixel ก่อน แล้วเลือก Selection From Layer and Delete เพื่อลบ Selection ของ Pixel ที่เลเยอร์นั้น
– Save Selection เพื่อบันทึก Selection นั้นไว้ เป็น As Spare Channel หรือ To file ก็ได้ โดย Selection ที่ถูก save ไว้ในฐานะ As Spare Channel จะปรากฏอยู่ที่ Channel Panel ในส่วนของ Studio Panel ส่วน Selection ที่ Save To File นั้น ก็จะถูกบันทึกเป็นไฟล์นามสกุล .afselection
– Load Selection From File ก็ตามชื่อคำสั่ง Load Selection จากไฟล์ที่บันทึกไว้
– Select All Layers/Deselect Layers เลือกเลเยอร์ทั้งหมด/ไม่เลือกเลเยอร์
– Colour Range เลือกพื้นสีระหว่าง Select Reds/Select Greens/Select Blues ในภาพ จะช่วยให้การปรับแต่งเฉพาะสีแต่ละสีในภาพได้แม่นยำขึ้น โดยไม่กระทบกับสีที่ไม่ได้เลือก
– Toner Range เลือกโทนของภาพระหว่าง Select Midtones/Select Shadows/Select Highlights
– Alpha Range มีเมนูย่อยให้เลือก คือ
Select Fully Transparent เลือกเฉพาะ pixel ที่มีค่า Opacity=0%
Select Partially Transparent เลือก pixel ที่โปร่งใสสูงกว่า 0%
Select Opaque เลือก pixel ที่ทึบแสง คือ มีค่า Transparent เป็น 0%
– Select Sampled Colour ก่อนจะเลือกใช้เมนูนี้ ต้องคลิกแล้วลาก Dropper Tool มายังสีที่ต้องการในภาพเพื่อใช้เป็นสีตัวอย่างก่อน
– Grow/Shrink หลังจากเลือก Selection ในภาพแล้ว หากต้องการขยายหรือย่อส่วนของ Selection นั้น ก็ใช้เมนู Grow/Shrink Selection นี้ได้ จะมีสไลเดอร์ให้เลื่อนขนาดของ radius หรือรัศมีของ pixel ในส่วนที่เลือกไว้
– Feather ใช้เพื่อปรับลดขอบ Selection ให้ความแข็งกระด้างลดลง
– Smooth อันนี้ก็ใกล้เคียงกัน คือ ใช้เพื่อปรับขอบของ Selection ให้ smooth หรือราบเรียบขึ้น
– Refine Edges อันนี้น่าจะสำคัญสุดสำหรับเรื่องของการปรับขอบ Selection ที่มารวมอยู่ในเมนูเดียว ซึ่งถ้าเราใช้ Selection Brush Tool ที่ตรง Context Toolbar มีปุ่ม Refine ให้เราเลือก ซึ่งมันก็คือเมนูเดียวกันกับ Refine Edges อันนี้ เมื่อคลิกเลือกแล้ว โปรแกรมจะแสดง Dialog Box ของ Refine Selection ขึ้นมา ดังภาพด้านล่าง
ในการทำภาพ cut out คือ ภาพตัดพื้นหลัง หรือที่คนไทยเรียกว่า ไดคัท นั้น จำเป็นต้องใช้เมนูนี้เข้ามาช่วย เพื่อ refine ส่วนของภาพที่เราเลือกไว้ คือ ทำให้ขอบ Selection มันประณีต ดูสวย ดูเนียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งขอบของ Selection ที่เป็นรายละเอียดซับซ้อน เช่น เส้นผม ขนสัตว์ กิ่งก้านของต้นไม้ เป็นต้น
– Outline สร้างกรอบให้กับ Selection โดยเลือกตำแหน่งของกรอบว่าจะอยู่ด้านนอก (Outside) ตรงกลาง (Centre) หรือด้านใน (Inside)
– Edit Selection As Layer ก่อนใช้งานเมนูนี้ เราจะใช้ Selection Tool เลือกส่วนของภาพก่อน แล้วเลือกเมนูนี้ โปรแกรมจะแสดงภาพเป็น Overlay สีแดงค่อนข้างโปร่งใสทั้งภาพ ยกเว้นในส่วนที่เป็น Selection ถ้าเราใช้ Paint Tool เช่น Paint Brush โดยเลือกสีดำ ก็จะเป็นการลบพื้นที่ส่วนที่เป็น Selection แต่ถ้าเลือกสีขาว ก็จะเป็นการเพิ่มพื้นที่ส่วนที่เป็น Selection มันเป็นการ modify ในส่วนของ Selection เปรียบเสมือนเป็นเลเยอร์หนึ่ง หลังจากนั้น ก็คลิกเมนู Edit Selection As Layer เพื่อออกจากเมนูนี้
Arrange Menu
Arrange Menu เป็นเมนูสำหรับการจัดการเกี่ยวกับเลเยอร์ทั้งหมด
– Group เลือกเลเยอร์ที่ต้องการ แล้วคลิกเมนู Group เพื่อเอามารวมกันในกลุ่มเดียว
– Live Stack Group การทำภาพ stack คือ การที่นำภาพที่ค่อนข้างเหมือนๆ กัน มารวมกันแล้ว blend ภาพเหล่านั้นเข้าด้วยกันให้กลายเป็นภาพเดียว ดังที่กล่าวมาแล้วในหัวข้อ New Stack ของ File Menu ซึ่งเราใช้หลายๆ เลเยอร์ในการสร้างภาพนั้นขึ้นมา ซึ่งเราสามารถรวมเลเยอร์เหล่านั้นให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันด้วยเมนู Live Stack Group เพื่อไม่ให้ผู้อ่านต้องย้อนกลับไปดูภาพที่แสดงไว้ก่อนหน้านี้ จึงขอตัดภาพส่วนที่เป็น Live Stack Group พร้อมกับ Stack Operators มาให้ดูดังด้านล่าง
– Ungroup ยกเลิกการรวม Group
– Move to Front เลื่อนเลเยอร์ขึ้นไปอยู่ด้านบนสุด
– Move Forward One เลื่อนเลเยอร์ขึ้นไปชั้นหนึ่ง
– Move Back One เลื่อนเลเยอร์ลงไปชั้นหนึ่ง
– Move to Back เลื่อนเลเยอร์ลงไปอยู่ด้านล่างสุด
– Move Inside ย้ายเลเยอร์เข้าไปอยู่ในเลเยอร์ด้านล่าง
– Move Ouside ย้ายเลเยอร์ที่อยู่ในเลเยอร์ออกไปอยู่ด้านบนนอกเลเยอร์นั้น
– Align Left/Centre/Right จัดแนวของภาพแต่ละภาพตามคำสั่ง เช่น ในภาพหนึ่งมีภาพเล็ก 3 ภาพรวมอยู่ในภาพใหญ่ แต่ละภาพต่างมีเลเยอร์ของตัวเอง คลิก Move Tool ก่อน แล้วคลิกเลือกเลเยอร์ของภาพใดภาพหนึ่ง แล้วจัดแนวของภาพนั้นให้ไปอยู่ด้านซ้าย/ตรงกลาง/ขวา แล้วแต่จะคลิกเลือกคำสั่ง
– Align Top/Middle/Bottom จัดแนวของภาพเช่นเดียวกัน ให้ภาพอยู่ด้านบนของกรอบภาพใหญ่ ตรงกลาง และด้านล่าง แล้วแต่จะเลือก
– Flip Horizontal พลิกภาพกลับข้างในแนวนอน (เหมือนภาพในกระจกส่องหน้า)
– Flip Vertical พลิกภาพกลับหัวกลับหางในแนวตั้ง
– Rotate 90° Clockwise หมุนภาพตามเข็มนาฬิกา 90°
– Rotate 90° AntiClockwise หมุนภาพทวนเข็มนาฬิกา 90°
– Insertion Default/Behind/Top/Inside เลเยอร์ Insertion นี้ ใช้ในกรณีจะสร้างเลเยอร์ใหม่ขึ้นมา โดยกำหนดให้เลเยอร์ที่สร้างใหม่นั้นว่าจะใส่ไว้ตรงไหน คือ ต้องคลิกเลือกที่เมนู Insertion นี้ก่อนจะสร้างเลเยอร์ใหม่ Default หมายถึง ให้เลเยอร์ใหม่อยู่บนเลเยอร์ที่คลิกเลือกไว้ Behind ก็อยู่ข้างล่าง Top อยู่ด้านบนสุดของทุกเลเยอร์ Inside ก็อยู่ในเลเยอร์ที่เลือกไว้
Filter Menu
Filter หลายๆ ตัวในเมนูนี้ซ้ำกันกับในเมนู Layer/New Live Filter Layer ข้อแตกต่างกัน คือ New Live Filter Layer นั้น โปรแกรมจะสร้างเลเยอร์ใหม่ให้ แต่ถ้าใช้เมนู Filter โปรแกรมจะไม่สร้างเลเยอร์สำหรับฟิลเตอร์นั้นๆ แต่จะแก้ไขในภาพโดยตรง หรือที่เรียกว่า Destructive Editing ส่วนการใช้งานผ่าน New Live Filter Layer เป็นการทำงานแบบที่เรียกว่า non-destructive editing คือ จะไม่มีการทำลายเนื้อ pixel ของภาพแบบใช้ฟิลเตอร์ เพราะมีเลเยอร์รองรับอยู่ และสามารถปรับแต่งเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ดังนั้น การเลือกใช้งานผ่านเมนูใด ก็ควรคำนึงในจุดนี้ด้วย
– Blur ฟิลเตอร์นี้ยังแยกย่อยออกไปอีกหลายฟิลเตอร์เช่นเดียวกันกับใน New Live Filter Layer แต่มีเพิ่มมาอีก 2-3 ตัว คือ Average, Zoom Blur, Custom Blur
– Sharpen ก็มี Option ให้เลือกเหมือนกันกับใน New Live Filter Layer คือ Unsharp Mask, Clarity, High Pass
– Distort ก็เช่นเดียวกันเหมือนกับใน New Live Filter Layer แต่มี Option ให้เลือกมากขึ้น ไม่ว่า Affine, Deform, Equations, Pixelate เป็นต้น
– Noise เช่นเดียวกันเหมือนกับใน New Live Filter Layer แต่มี Option ให้เลือกมากขึ้น คือ FTT Denoise , Perlin noise, Deinterlace
– Detect ฟิลเตอร์ตัวนี้ไม่มีใน New Live Filter Layer ชื่อเต็มๆ คือ Edge Detection Filters คือ ฟิลเตอร์ที่ใช้ตรวจจับขอบของ subject ในภาพ ซึ่งมีตัวเลือกในฟิลเตอร์นี้ คือ Detect Edges, Detect Horizontal Edges, Detect Vertical Edges ปกติใช้ฟิลเตอร์นี้ในการปรับแต่งภาพให้เน้นเส้นขอบของ subject ในภาพ วัตถุประสงค์อาจต้องการให้เด่นชัดขึ้น หรือไม่ก็ลดความคมลง เพิ่ม Blur ขึ้น โดยการสร้าง mask ขึ้นมาผ่านทางเมนู Layer/Rasterise to Mask และ Channel นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้ฟิลเตอร์ Detect Edges นี้ เพื่อปรับแต่งภาพให้เป็นภาพดูเหมือนเป็นภาพวาดด้วยดินสอก็ทำได้เช่นกัน
– Colours เมนูนี้ใน New Live Filter ก็มี ซึ่งประกอบไปด้วยเมนูย่อย คือ Halftone, Vignette, Defringe, Voronoi, Procedural Texture แต่ในเมนู Filter/Colour นี้ มีเมนูย่อยที่หลากหลายกว่า ดังภาพด้านล่าง
ซึ่งในกลุ่มแรกพวก Auto Level, Contrast, Colours, White Balance การทำงานงานก็ง่ายๆ คลิกครั้งเดียวแล้วดูผล โปรแกรมจะปรับแต่งให้แบบอัตโนมัติ
ส่วนกลุ่มที่สองคือ Vignette, Remove Vignette, Chromatic Aberration, Defringe ก็คือ การสร้าง Vignette เพื่อลดความสว่างตรงมุมภาพทั้ง 4 มุม เพื่อให้ Subject ตรงกลางภาพดูโดดเด่นขึ้น Remove Vignette ก็ทำให้ผลตรงข้ามกัน ส่วน Chromatic Aberration หรือการคลาดสีที่ทำให้เกิดแถบสีเขียว แดง น้ำเงิน หรือม่วง ซึ่งเกิดจากแสงที่มีดัชนีความหักเหของแสงที่แตกต่างกัน เมื่อคลื่นแสงผ่านเลนส์ตกกระทบไปที่ sensor โดยความยาวของคลื่นแสง (wavelength of light) ที่ทำให้เห็นเป็นสีต่างๆแบบสีรุ้ง มีความยาวไม่เท่ากันในแต่ละสี จึงเกิดสีที่คลาดเคลื่อนไปหลายหลากสี หรือที่เรียกว่า multiple color fringes และสุดท้ายเมนูย่อยในกลุ่มนี้ ฟิลเตอร์ Defringe ลดภาพที่มีขอบสีม่วง (purple fringing) บริเวณภาพระหว่างรอยต่อของขอบวัตถุกับพื้นหลังที่มีความสว่าง
กลุ่มที่สาม คือ Remove White Matte, Remove Black Matte, Multiply by Alpha, Divide by Alpha, Erase White Paper
Remove White Matte คือ ฟิลเตอร์ใช้สำหรับลบ pixel ที่มีลักษณะค่อนข้างโปร่งใสรอบๆ ขอบ subject ของภาพที่ cut out (ไดคัท) มาแล้ว และวางไว้บน background ใหม่ ซึ่งบางครั้งตัว subject นั้น อาจแสดงให้เห็นร่องรอยสีขาวตรงขอบของ subject นั้น ส่วน Remove Black Matte ก็ตรงข้ามกัน ใช้สำหรับร่องรอยสีดำหรือสีเทา
Multiply by Alpha นั้น สำหรับ Alpha Channel ซึ่งเป็น Channel หนึ่งใน Colour Chanel อื่นๆ เช่น RGB หรือ CMYK โดย Alpha เป็นพื้นที่โปร่งใส ถ้าค่า Alpha เป็น 0 เท่ากับพื้นที่นั้นโปร่งใส (transparent) Alpha เองยังแบ่งออกเป็น Straight alpha หรือ non-premultiplied alpha และ premultiplied alpha ฟิลเตอร์ Multiply by Alpha จะช่วยแปลง (convert) ภาพบางประเภทที่มี non-premultiplied alpha ให้เป็น premultiplied alpha ผลทำให้บริเวณขอบของ subject มีลักษณะที่ค่อนข้างมีความสว่างหรือเป็นสีขาวในบริเวณนั้นให้หายไป ส่วน Divide by Alpha นั้น ก็ทำหน้าที่ตรงข้ามกัน โดยจะไปช่วยปรับแต่งแก้ไขบริเวณขอบของ subject ที่มีสีค่อนข้างดำหรือมืดให้หายไป
สุดท้ายในกลุ่มนี้ ฟิลเตอร์ Erase White Paper ทำให้พื้นหลังของภาพโปร่งใส แต่ต้องเป็นภาพที่ได้มาจากการสแกนภาพ และมีพื้นหลังเป็นกระดาษขาว จึงจะใช้ฟิลเตอร์นี้ได้
กลุ่มต่อมา Monochrome Dither ฟิลเตอร์สำหรับแปลงภาพสีให้เป็นภาพขาวดำ และฟิลเตอร์ Web Safe Dither ปรับภาพที่สีดูออกจืดๆ ให้ดูสดขึ้นเมื่อนำขึ้นเว็บ
กลุ่มฟิลเตอร์สีอีกกลุ่มหนึ่ง Emboss, Solarise, Halftone, Voronoi บางตัวได้เคยกล่าวไว้แล้วในฟิลเตอร์ Coolers ในส่วนของ New Live Filter Layer ดังนั้น จึงขอแสดงเป็นภาพว่าฟิลเตอร์แต่ละตัว ใช้แล้วจะออกมาแบบใด ภาพแรกเป็นภาพต้นแบบ ส่วน 4 ภาพหลังใส่ฟิลเตอร์กลุ่มนี้
เมนูย่อยสุดท้ายของฟิลเตอร์ Colours คือ Procedural Texture ใช้เพื่อสร้างฟิลเตอร์ texture effects ให้กับภาพ และยังสร้าง preset ของฟิลเตอร์นี้ได้ด้วย ซึ่งเป็นเมนูเดียวกันกับใน New Live Filter Layer ที่ได้เขียนไว้แล้ว
– Frequency Separation ฟิลเตอร์ตัวนี้ใช้ในการรีทัชภาพบุคคล หรือ portrait พูดง่ายๆ มันคือฟิลเตอร์ช่วยทำหน้าเนียน ลบริ้วรอยต่างๆ บนใบหน้า หลักการ คือ ใส่ฟิลเตอร์ตัวนี้ลงไป ภาพหน้าจอจะแสดงออกมา 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็น High Frequency กับ Low Frequency แล้วก็ตั้งค่า Frequency ได้ทั้ง 2 ส่วน โดยมี slider ให้ปรับความสมดุลย์ระหว่าง texture กับ tone หรือจะปรับค่าโดยการคลิกเมาส์ลากซ้าย-ขวาบนภาพโดยตรงก็ได้ หลังจากคลิก Apply โปรแกรมก็จะสร้างเลเยอร์ให้ 2 ตัว คือ Hight Frequency Layer และ Low Frequency Layer เท่ากับเราสามารถแยกปรับระหว่าง texture คือ ผิวหน้า กับโทนสีของผิวหน้า โดยไม่กระทบซึ่งกันและกัน ส่วนรายละเอียดวิธีการใช้ ผมลองค้นดูใน Youtube มีคลิปสอนอยู่มากพอควรครับ ทั้งภาษาอังกฤษและไทย
– Apply Image ฟิลเตอร์นี้ใช้ได้ 2 อย่างคือ อย่างแรกเพื่อ blend ภาพ 2 ภาพเข้าด้วยกัน โดยรวมภาพจาก source file กับ target file ให้เป็นเลเยอร์เดียว หลังจากนั้น ก็ใช้ Blend Mode หรือ Opacity และอาจใช้สมการ (Equation) ของ Colour Space เข้ามาร่วมด้วยก็ได้ อาจเรียกว่าเป็นการ Apply Image แบบภาพซ้อนภาพ ส่วนอีกอย่างอาจเรียกว่าเป็นแบบสีซ้อนสี โดยใช้วิธีเลือกเลเยอร์ที่เราใช้งานอยู่เป็น Source file แล้วใช้ Equation ของสีเข้ามาปรับแต่งสี โปรดดู Dialog Box ด้านล่างของเมนูนี้ จะช่วยให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น
ในส่วนแรกของ Dialog Box จะเห็นว่าโปรแกรมให้เลือกระหว่าง Load Source From File กับ Use Current Layer As Source ส่วนตรงกลางมี Blend Mode และส่วนล่างสุด คือ Equation Colour Space
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ผมขอยกตัวอย่างการ Blend ภาพแบบแรก คือ เอาภาพ 2 ภาพมารวมกันในเลเยอร์เดียวกันแบบเบสิกง่ายๆ ดังภาพล่าง คือ ภาพผลเชอรี่ กับภาพพื้นหลังเป็นเปลือกต้นไม้
แล้วกลายเป็นภาพที่รวมเข้าด้วยกันแบบเบสิคง่ายๆ โดยใช้ Colour Darker Blend Mode และ Opacity 15% ดังภาพล่างนี้
สำหรับการ Apply Image แบบสีซ้อนสี ก็ใช้สมการง่ายๆ บวก ลบ คูณ หาร (+ – * /) อย่างภาพ Dialog Box ด้านบน เราเลือก Equation Colour Space เป็น RGB แล้วเราเลือกปรับค่า Channel สีของ Source Colour เพื่อให้ผลเกิดกับ Destination Colour Channel ของภาพ DR ก็คือ Destination Red Channel ส่วน SR ก็คือ Source Red Channel ต่อมา G ก็ Green และ B ก็ Blue สุดท้าย A คือ Alpha ตัวอย่างเช่น ภาพผลเชอรี่ถ้าตั้งค่า DR=SR+1 ผลเชอรี่รวมทั้งก้านก็จะกลายเป็นสีแดงแจ๋แบบสีลูกกวาด หรือตั้งค่า DB=SB-1 พื้นหลังของภาพก็จะกลายเป็นสีเหลืองจัดจ้าน ถ้าเป็น -0.5 ก็จะลดความจัดจ้านของสีเหลืองลง แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกับสีของผลเชอรี่ ถ้าผู้ใช้เข้าใจเรื่องทฤษฎีสี ก็น่าจะเข้าใจวิธีใช้งานในเรื่องได้ไม่ยาก
– Lighting ฟิลเตอร์ตัวนี้ใช้สำหรับส่องแสงไปยังส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพ ก็เหมือนกับ Lighting ที่ใช้งานผ่าน New Light Layer Filter ที่ได้กล่าวไว้แล้วในส่วนหนึ่ง หน้าตาของ Dialog Box ก็แทบจะเหมือนกันราวๆ 95%
– Shadows/Highlights ฟิลเตอร์ตัวนี้ก็เหมือนกันกับใน Shadows/Highlights ของ New Adjustment Layer เพียงแต่จะมีรายละเอียดให้ปรับมากขึ้น คือจะมี Slider ของ Strength และ Range แต่จะไม่มี Blend Mode แบบของ New Adjustment Layer
– Haze Removal ฟิลเตอร์สำหรับภาพที่มันค่อนข้างมืดสลัวเหมือนมีเมฆหมอก ฟิลเตอร์ตัวนี้จะช่วยทำให้ดูแจ่มชัดขึ้น
– Plugins ฟิลเตอร์ตัวสุดท้ายใช้สำหรับการแต่งภาพต่อด้วยโปรแกรม Plugin ต่างๆ ที่เรามี ซึ่งการติดตั้งโปรแกรม Plugin ก็ทำผ่านเมนู Affinity Photo/Preferences/Photoshop Plugins ส่วนใน Windows นั้น Preferences อยู่ใน Edit Menu สำหรับ Plugin นี้ หมายถึงโปรแกรม Plugin ที่สามารถติดตั้งใน Photoshop ได้ ก็น่าจะติดตั้งใน Affinity Photo ได้ ในหลักการก็น่าจะเป็นอย่างนั้นครับ แต่จะรับประกันได้หรือไม่ว่าสามารถติดตั้งได้ 100% อันนี้ก็ไม่แน่ใจครับ คงต้องทดลองดูเอาเอง เพราะผมเองเลิกใช้ Photoshop หลายปีมาแล้ว อย่างภาพด้านล่างนี้เป็นโปรแกรม Plugin ที่ผมติดตั้งไว้ใน Affinity Photo
View Menu
– Zoom การซูมภาพเลือกทำได้หลายขนาด เช่น Zoom In, Zoom Out, Zoom to Fit, Zoom to Width, Zoom 100%, Zoom 200%, Zoom 400%, Zoom 800%, Actual Size, Pixel Size
– Rotate Left, Rotate Right, Reset Rotation หมุนภาพไปทางซ้าย ทางขวา และ Reset หมุนกลับสภาพเดิม การหมุนแต่ละครั้งจะหมุนทำมุมครั้งละ 15° จะหมุนภาพให้ได้ 90° ต้องคลิกหมุนถึง 6 ครั้ง น่าเบื่อตรงนี้แหละ ควรจะมี option เพิ่มให้สะดวกกว่านี้
– Show Margins ให้แสดงระยะขอบของภาพ (Margin) ซึ่งปกติเราจะตั้งค่า Margin เวลาจะพิมพ์งานภาพ ซึ่งการตั้งค่า Margin นี้ ต้องทำในเมนู Document/Margins มาก่อน
– Show Guides แสดงเส้น Ruler Guide ในภาพ (Guide มี 2 แบบ คือ Ruler Guide and Column Guide) ปกติเราสามารถสร้างเส้น Ruler Guide ขึ้นมาได้ เพื่อประโยชน์ในการแบ่งหรือกำหนดสัดส่วนภายในภาพ อาจเพื่อประโยชน์ในการออกแบบไม่ว่าออกแบบเว็บ หรือเอกสารต่างๆ เช่น โบรชัวร์ กำหนดระยะหรือแนวการวางภาพหลายๆ ภาพซ้อนในภาพเดียวกัน หรือกำหนดเส้นสำหรับการวางองค์ประกอบ (Composition) ของภาพ ก็ทำได้ ซึ่งจะกล่าวต่อไปในเมนู Guide Manager ด้านล่าง
– Show Grid แสดงเส้น Grid หรือเส้นตาราง เป็นตารางที่โปรแกรมสร้างให้โดยอัตโนมัติ มีประโยชน์ในการกำหนดแนวของภาพ หรือระยะของภาพ ใช้ประโยชน์คล้ายๆ กับเส้น Guide และมีประโยชน์ในการใช้งานร่วมกับ Snapping โดยคลิกใช้งานที่ Toolbar (เรื่อง Snapping ผมได้เขียนไว้ในตอนที่ 1) เราสามารถปรับแต่งและสร้าง Grid เพิ่มได้ที่เมนู Grid and Axis Manager ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปในด้านล่าง
– Show Pixel Selection ปกติมันเป็นค่า default อยู่แล้ว เวลาใช้เครื่องมือ Selection ส่วนที่ถูกเลือกก็จะแสดงเส้นประบนภาพให้เราเห็น ถ้าเราไม่คลิก Show Pixel Selection เราก็จะมองไม่เห็นเส้นประบนภาพ คนที่เลือก Option นี้ อาจเป็นเพราะกำลังปรับแต่งภาพในส่วนอื่นอยู่ ไม่อยากเห็นเส้นประมากวนตา ก็ปิดเอาไว้ก่อนทำนองนั้น
– Show Column Guides แสดง Column Guides ปกติ Guide จะมี 2 แบบ คือ Ruler Guide และ Column Guides เมนูนี้จะแสดงให้เห็น Column Guide ถ้าเราคลิกเลือกมัน ส่วนเมนู Show Guides นั้น จะแสดงให้เห็นเฉพาะ Ruler Guide
– Show Rulers แสดงไม้บรรทัด แปลกันตรงๆ มันก็คือการแสดงหน่วยของภาพ อย่างเข่น Pixel เวลาใข้งานทุกครั้ง โปรแกรมจะแสดงไม้บรรทัดตรงด้านบนและด้านซ้ายของส่วนที่เรียกว่า Document View เป็นสัดส่วนของ Pixel ของภาพ เริ่มที่ระยะ 0 Pixel ทั้งแนวตั้งและแนวนอน เวลาเราเปิดภาพเราก็มองเห็นขนาด Resolution ของภาพได้คร่าวๆ ว่า กว้างยาวเท่าไหร่ อนึ่ง หน่วยของไม้บรรทัดสามารถปรับเปลี่ยนได้ ไม่จำเป็นต้องหน่วย Pixel เท่านั้น โดยเปลี่ยนที่ Unit บน Context Toolbar เมื่อเราคลิกเลือก View Tool หรือ Zoom Tool
– Lock Guides คลิกเพื่อล็อก Ruler Guide ไม่ให้มีการแก้ไขปรับเปลี่ยนอะไร แม้แต่ใช้ Guide Manager ก็แก้ไขไม่ได้ จนกว่าจะปลด Lock Guides
– Snapping Manager ให้แสดง Snapping Manager เรื่อง Snapping Manager ได้เคยเขียนไว้แล้วในตอนที่ 1 จึงไม่ขอเขียนถึงอีก
– Guides Manager ให้แสดง Guides Manager ซึ่งเป็น Dialog Box กำหนดวิธีการสร้าง Guide ดังภาพด้านล่าง
จากภาพด้านบนจะเห็นว่าตารางถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน เพราะ Guide มี 2 แบบ คือ Ruler Guide และ Column Guide โดย Ruler Guide เป็นการสร้าง Guide จาก Ruler โดยแบ่งเส้นของ Guide เป็นแบบแนวนอนกับแนวตั้ง ดังตัวอย่างในภาพด้านบน Guide แนวนอนตั้งค่าไว้ที่ 631px ส่วนแนวนอนตั้งค่าไว้ที่ 138px การกำหนดค่า Ruler Guide ผ่าน Guide Manager นี้ ใช้ในเวลาที่ต้องการตั้งค่า Guide อยู่ที่ Pixel แบบเป๊ะๆ ไม่ให้ผิดพลาดแม้แต่ Pixel เดียว แต่ถ้าเราจะตั้งค่าไม่ถึงขั้นพิถีพิถันแบบนี้ จะใช้วิธีลากเส้นจาก Ruler โดยตรงเลยก็ได้ ก่อนใช้ลากเส้น Guide ก็คลิกที่ Move Tool ก่อน แล้วเอา Cursor ไปคลิกแล้วค้างไว้บน Ruler ในตำแหน่งที่ต้องการ แล้วลากเส้นจาก Ruler เข้ามาในภาพเลยไม่ว่าลากแบบแนวนอนหรือแนวตั้ง เราก็จะได้ Guide แบบง่ายๆ เลย
ส่วน Column Guide ปกติจะใช้เพื่อแบ่งภาพออกเป็น Column ก็เพื่อประโยชน์ในการวาง Layout ของภาพ ไม่ว่าในงานพิมพ์โบรชัวร์ หรือนิตยสาร หรือแม้แแต่เว็บ เช่น แบ่ง 2 Column ซ้ายมือจะเป็นภาพ ขวามือจะเป็นอีกภาพ หรือเป็น Text ล้วนๆ ก็แล้วแต่ต้องการ การจะกำหนดค่าของ Column Guide ตั้งค่าที่ทางด้านขวาของ Guide Manager กำหนดกี่ Column ก็ได้ เช่นเดียวกันจะสร้าง Row กี่แถวก็ได้ ส่วน Gutter คือ ช่องว่างระหว่าง Column/Row จะกำหนดให้เป็นกี่ Pixel ก็ได้ ส่วน Style มีให้เลือก 2 แบบ คือ Filled สำหรับใส่สีลงใน Column อีกแบบก็ Outline คือ กำหนดให้ Gutter แสดงเป็นแนวเส้นแทนการปล่อยให้เป็นพื้นที่ว่าง สำหรับ Margin ก็เป็นการกำหนดค่า Margin ให้กี่ Pixel ซึ่งค่า default ก็อยู่ที่ 0 px สำหรับ Spread Origin นั้น คือ การกำหนดจุดเริ่มต้นของ Ruler อยู่ที่ 0 px ทั้งแกน X และ Y ซึ่งเป็นค่า default อยู่แล้ว เว้นแต่มีเหตุผลพิเศษที่ทำให้เราอยากเปลี่ยนค่า Spread Origin เสียใหม่
เพื่อให้เห็นตัวอย่างการจัด Column Guide ในภาพ ผมสร้างไฟล์เปล่าขึ้นมา กำหนด Column เป็น 3 และ Row เป็น 2 Gutter เป็น 50 px Style เป็น Filled และ Colour เป็นสีเขียวอ่อน ดังภาพด้านล่าง
– Grid and Axis Manager ให้แสดง Grid and Axis Manager ดังภาพด้านล่างนี้ ซึ่งสามารถปรับแต่ง Grid ได้หลากหลายมาก ตั้งแต่ Automatic, Basic, Advanced, Cube รวมทั้ง Preset และสามารถสร้าง Preset ขึ้นมาใช้เองได้ ดังภาพด้านล่าง เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการตั้งค่าแบบต่างๆ
– Assistant Manager ให้แสดง Assistant Manager เรื่องตัวช่วยในการทำงานให้สะดวกขึ้น ได้เขียนไว้แล้วเช่นกันในตอนที่ 1
– Resource Manager ให้แสดง Resource Manager ภาพที่จะแสดง Resource Manager ได้ คือ ภาพที่เรานำภาพหลายๆ ภาพมารวมกันไว้ในภาพเดียวกัน ไม่ใช่ภาพเดี่ยวๆ ดัง Dialog Box ด้านล่างนี้
เป็นภาพ 3 ภาพ ที่ถูกนำซ้อนรวมกันเป็นภาพเดียว คลิกภาพไหน ก็จะปรากฏรายละเอียดของภาพนั้นแสดงให้เห็น รวมทั้งมี Option ต่างๆ ให้เลือกใน Dialog Box
– Apple Colour Picker แสดง Apple Colour Picker ซึ่งมีให้เลือกใช้หลายแบบสำหรับผู้ใช้เครื่อง Mac
– Studio เมนูนี้แสดงให้เห็นรายชื่อ Studio ต่างๆ ถ้ามีเครื่องหมายถูกติ๊กไว้ข้างหน้า Studio Tab นั้น ก็จะปรากฏใน Studio Panel
ถ้าเราย้ายตำแหน่งของ Studio Panel ซึ่งเราลากออกมาจากกรอบของมันได้ หรือคลิกปิดก็ได้ หรือทำไปทำมาจนงง เราสามารถคลิก Reset Studio ให้กลับมาเป็นค่า Default ได้
– New View/View โดย New View จะเป็นการสร้างสำเนาไฟล์ให้กับไฟล์ที่เรากำลังเปิดอยู่ ส่วน View แสดงรายชื่อไฟล์ทุกไฟล์ที่เราได้เปิดใช้งานอยู่ ไฟล์ที่มีเครื่องถูกอยู่ข้างหน้า คือ ไฟล์ที่เรากำลังใช้อยู่ในขณะนั้น บางทีเราเปิดไฟล์เป็น 10 ไฟล์ จะไปคลิกที่ Tab หาชื่อไฟล์ที่ต้องการอาจสับสน หรือสับสนว่าไฟล์ที่กำลังเปิดหน้าอยู่นี้ชื่อไฟล์อะไร เพราะสีของ Tab ของไฟล์ที่ Active กับ Inactive มันไม่ได้แตกต่างกันชัดเจน ก็ใช้เมนูนี้ช่วยได้
– Move to Previous View Point/Move to Next View Point การใช้ View Point หมายถึงการสร้างมุมมองของภาพให้กับเราเพื่อสะดวกในการทำงาน เช่น สร้าง View Point สำหรับการซูมภาพที่ 50% ที่ 100% ที่ 200% หรือ ซูมที่ 100% ตรงมุมบนด้านขวาของภาพ หรือมุมบนด้านซ้ายของภาพ เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งการจะสร้าง View Point ต้องไปที่ Navigator Panel หรือ Navigator Tab ของ Studio Panel ดังตัวอย่างภาพด้านล่าง ซูมภาพที่ 50% แล้วคลิกที่ไอคอนฟันเฟือง หรือไอคอนเมนูตรงมุมขวาด้านบน เลือก Add โปรแกรมก็จะตั้งชื่อ View Point แรกว่า View Point 1 ซึ่งก็เปลี่ยนชื่อได้ โดยเลือก Rename ที่ไอคอนฟันเฟืองหรือไอคอนเมนู ซึ่งเลือกดู View Point จาก Navigator ได้เลย หรือถ้าใช้เมนู Move to Previous View Point/Move to Next View Point ก็เป็นการเลือกดู View Point ก่อนหน้านั้น และ View Point ต่อไป
– Show Context Toolbar กำหนดให้แสดง Context Toolbar
– Show Toolbar กำหนดให้แสดง Toolbar
– Customize Toolbar เลือกเพื่อต้องการปรับเปลี่ยนเพิ่มลดไอคอนต่างๆ บน Toolbar ซึ่งได้เคยเขียนถึงไว้แล้วในตอนที่ 1
– Dock Tools/Show Tools/Customise Tools ปกติ Dock Tools ก็เป็นค่า default อยู่แล้ว แต่ถ้าหากเราต้องการเคลื่อนย้าย Tool ต่างๆ ที่อยู่ทางด้านซ้ายของจอภาพไปอยู่ตรงอื่น ที่เรียกว่า ลอย หรือ Float ก็คลิกที่ Dock Tools เพื่อเอาเครื่องหมายถูกข้างหน้าออกไป แล้วเราจะเอา Tools ทั้งแผงไปวางไว้ตรงไหนก็ได้ ส่วน Show Tools คลิกตรงนี้ Tool ทั้งหมดก็จะไม่แสดงให้เห็น สุดท้าย Customise Tools จะเพิ่มลด Tool หรือ ปรับ Tool ให้แสดงเป็น 2 คอลัมน์ ก็ใช้เมนูนี้
– Toggle UI ใช้เพื่อซ่อน User Interface เหลือเพียง Menu Bar, Ruler กับ ภาพ บนหน้าจอ
Window Menu
– This Window to Left/Right of Screen ย้ายโปรแกรมไปทางซ้ายหรือขวาของจอภาพครึ่งจอ
– Separated Mode ทำให้ทุกอย่างบนหน้าจอ float หมด รวมทั้งภาพบนหน้าจอด้วย แยกออกจากกันหมด มีประโยชน์ที่ผู้ใช้ใช้จอคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ สามารถปรับแต่งภาพแต่ละภาพพร้อมๆ กัน หลายๆ ภาพ โดยแสดงอยู่บนหน้าจอเดียว หรือใช้ประโยชน์ในกรณีผู้ใช้ใช้คอมพิวเตอร์ 2 จอ
– Merge All Windows กรณีผู้ใช้ใช้งานอยู่ใน Separated Mode เปิดพร้อมหลายภาพพร้อมกัน และต้องการรวมภาพทั้งหมดให้มารวมติดกันแบบ Tab เหมือนการใช้งานแบบโหมดปกติ แต่การใช้งานยังอยู่ใน Separated Mode
– Minimize/Zoom คลิก Minimize เพื่อให้โปรแกรมปิดตัวลงไปอยู่ที่ Dock ด้านล่างของจอภาพ ส่วน Zoom ก็ซูมภาพเต็มจอแบบใช้งานโปรแกรมนี้โปรแกรมเดียวบนหน้าจอ
– Toggle Full Screen คลิกเพื่อเข้าสู่โหมด Full Screen
– Bring All to Front เมนูนี้น่าจะมีเฉพาะในเครื่อง Mac เพราะเป็นมาตรฐานเมนูของโปรแกรมบน Mac ที่โปรแกรมส่วนใหญ่มีเมนูนี้ แต่ผมไม่เคยคลิกใช้เมนูนี้เลย ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมไหนก็ตาม ถ้าเปิดหลายๆ โปรแกรม พร้อมกัน ผมจะะใช้วิธีคลิกตรงไอคอนของโปรแกรมนั้นๆ ที่ Dock คือ ด้านล่างของจอ หรือไม่ก็กดคีย์ Cmd+Tab โปรแกรมที่เปิดใช้งานอยู่ก็จะแสดงไอคอนบนหน้าจอให้เราเลือก
– Clean Up Floating Windows มีเมนูย่อย 2 เมนู คือ In Place และ On App Screen พูดตรงๆ ผมไม่เคยใช้เมนูนี้ และก็ไม่เข้าใจด้วยว่าใช้งานอย่างไร ถ้าใครทราบ กรุณาแจ้งให้ทราบด้วย จะขอบคุณมาก
– Help Menu
เมนูย่อยใน Help Menu นี้ก็ไม่มีอะไรมาก นอกจากเรียกดู Help File คลิกเมนูย่อย Welcome ซึ่งถ้าไม่ปิดไว้ มันก็จะเปิดหน้า Welcome ทุกครั้งที่ใช้งาน และที่เป็นประโยชน์ก็ Tutorial ที่รวบรวมวีดีโอการใช้งานของบริษัทผู้พัฒนา และ Support นำไปสู่ Forum ของกลุ่มผู้ใช้งานและผู้พัฒนา Affinity Photo
สุดท้าย ผมขอจบตอนที่ 2 ไว้ ณ ตรงนี้ มีเวลาว่างและสะดวกเมื่อใดก็จะมาเขียนตอนต่อไปครับ ในเรื่องของ Studio Panel