Photo by Joshua Rawson-Harris on Unsplash ในการแต่งไฟล์ภาพนั้น มีโปรแกรมให้เราเลือกใช้หลายตัวมากมาย ตั้งแต่ประเภทใช้ฟรีไม่ต้องเสียเงินซื้อ กับแบบที่ต้องเสียเงินซื้อนั้นมีทั้งราคาถูกราคาแพง และมีทั้งแบบซื้อขาดจ่ายครั้งเดียว จะจ่ายอีกครั้งเมื่อโปรแกรมมีการ upgrade ในระดับที่สำคัญ และมีแบบที่ต้องเสียค่าใช้เป็นรายเดือน ก่อนอื่นขอเรียนว่า โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์เกี่ยวกับการตกแต่งภาพนั้น มันมีหลายแบบหลายประเภท คุณสมบัติหลากหลาย ยากที่จะแยกออกเป็นกลุ่มๆ ได้ชัดเจนพอ เช่น มีกลุ่มโปรแกรมที่มีระบบการทำงาน หรือที่เรียกว่า Workflow ของงานภาพถ่ายโดยเฉพาะ น่าจะเรียกว่ากลุ่ม Image Processing และกลุ่มโปรแกรมที่เรียกว่า Image Editor หรือ Image Manipulation ซอฟต์แวร์บางตัวก็ผสมผสานคุณลักษณะเข้าไปหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน ยากที่จะแยกออกมาให้ชัดเจนเป็นกลุ่ม โปรแกรมบางตัวใช้ระบบ Catalog คือระบบ Database ที่รวบรวมเข้ามูลภาพทั้งหมดและการแต่งภาพของเราไว้ในฐานข้อมูล โปรแกรมที่ไม่ได้ใช้ระบบนี้ก็อาจใช้ไฟล์ที่เรียกว่า Sidecar เช่น XMP sidecar ไฟล์ แต่โปรแกรมบางตัวก็ใช้ผสมกันระหว่าง Catalog กับ XMP…
Affinity Photo ในส่วนของ Photo Persona (ตอนที่ 2)
Affinity Photo ในส่วนของ Photo Persona (ตอนที่ 2) นี้ เป็นข้อเขียนต่อเนื่องมาจากข้อเขียนเรื่อง Affinity Photo ในส่วนของ Photo Persona (ตอนที่ 1) ซึ่งผมเขียนไว้เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 อนึ่ง ในระหว่างที่กำลังเขียนเรื่องนี้ใกล้จะจบแล้ว Affinity Photo 1.9 ออกมา ก็ขอไม่เขียนถึงเวอร์ชั่น 1.9 ในข้อเขียนนี้นะครับ ไม่งั้นมันต้องเพิ่มเนื้อหาเข้าไปอีกมาก และต้องใช้เวลามากเข้าไปอีกกว่าข้อเขียนจะออกมาได้ ซึ่งผมได้เขียนข้อเขียนนี้ไว้ในตอนที่ 1 ก็นานมากแล้ว Menu Bar Menu Bar บน Windows กับ Mac จะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตรงการวางตำแหน่งของเมนูต่างๆ ผมขออธิบายไปตามเครื่อง Mac ที่ผมใช้ ดังภาพด้านล่าง – Affinity Photo Menu Affinity Photo Menu…
Affinity Photo ในส่วนของ Photo Persona (ตอนที่ 1)
หลังจากที่ได้เขียนเรื่อง Affinity Photo มา 2 บทแล้ว ซึ่งบทความหลังสุดเรื่อง “Affinity Photo ในส่วนของ Develop Persona”นั้น ถ้าผู้ที่เคยอ่านจำได้หรือกลับไปอ่านในส่วนนั้น ก็จะจำได้ว่า หลังจากที่เราคลิกปุ่ม Develop แล้ว โปรแกรมก็จะเข้าสู่ Photo Persona ทันที เช่นเดียวกับกรณีที่เราเปิดไฟล์อื่นที่ไม่ใช่ไฟล์ Raw โปรแกรมก็จะเข้าสู่ Photo Persona เช่นเดียวกัน ซึ่งการเข้าไปสู่ Photo Persona หลังจากผ่านขั้นตอนของ Develop Persona ก็เท่ากับว่าไฟล์ถูกบันทึกไว้เป็นฟอร์แมต afphoto เรียบร้อยแล้ว ก่อนเข้ารายละเอียดของ Photo Personal ขอเรียนเพิ่มเติมนิดว่า บทความนี้ผมเน้นไปที่มือใหม่หัดใช้โปรแกรมให้รู้จักเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ของโปรแกรม วิธีการเขียนในส่วนของ Photo Persona จะคล้ายกับในบทความก่อนหน้านี้ในส่วนของ Develop Persona ที่กล่าวถึงเครื่องมือและเมนูต่างๆ แบบเรียงลำดับไป กล่าวคือ จะอธิบายใน 5 ส่วนหลักๆ คือ…
Affinity Photo ในส่วนของ Develop Persona
ผมเขียนเรื่อง “มารู้จักกับ Affinity Photo” ไว้เมื่อเดือนมกราคม 2563 ที่ผ่านมา เป็นข้อเขียนที่แนะนำให้รู้จักโปรแกรม Affinity Photo อย่างคร่าวๆ โดยเน้นไปที่ User Interface ต่างๆ พอเป็นสังเขป ไม่ได้ลงลึกอะไรมากนัก และมีคนเข้าไปอ่านพอสมควร ตอนแรกคิดว่าไม่น่าจะมีคนอ่านเรื่องนี้เท่าไหร่ คิดว่าคนคงใช้โปรแกรมตัวนี้น้อยมาก แต่เช็คยอดผู้อ่านแล้วมีคนเข้าไปอ่านมากพอสมควร ก็เลยเห็นภาพว่าโปรแกรมตัวนี้ (ซึ่งมีการทำงานคล้ายคลึงกับ Photoshop) เร่ิมมีคนไทยใช้มากขึ้นทุกวัน ผมก็เลยคิดว่า จะเขียนเรื่องนี้เพิ่มเติม โดยเน้นไปในส่วนของ Develop Persona ส่วน Persona อื่นๆ คิดไว้ว่าหากมี mood เมื่อใด ก็จะทยอยเขียนไปเรื่อยๆ ผมก็ยังคงย้ำแนวคิดเดิมตามที่เคยเขียนไว้ในตอนแรกกว่า เป็นการเขียนในลักษณะแนะนำโปรแกรมว่ามันมี Feature ใช้งานอะไรได้บ้าง โดยเพิ่มการอธิบายถึงเครื่องมือและ Panel ต่างๆ ของ Develop Persona แต่จะไม่มีการเขียนแบบว่า นำตัวอย่างภาพมาแสดงให้เห็นว่าจะปรับแต่งตรงไหนบ้าง อย่างไรบ้าง ดึง curve อย่างไร อะไรทำนองนี้ อนึ่ง…
มารู้จักกับ Affinity Photo
ในวงการตกแต่งภาพหรือวงการถ่ายภาพ โปรแกรมที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมมากที่สุด ก็ไม่พ้น Adobe Lightroom และ Adobe Photoshop ส่วนโปรแกรมตัวอื่นๆ ก็สอดแทรกขึ้นมาได้ยากเพราะ Adobe เขาครองตลาดมายาวนานแล้ว แต่มันไม่ได้หมายความว่า โปรแกรมอื่นๆ มันจะไม่ดีไม่ยอดเยี่ยมเท่ากับเจ้าตลาด ซึ่งโปรแกรมเจ้าอื่นๆ มีทั้งที่มีความสามารถยอดเยี่ยมอยู่มาก เพียงแต่ผู้ใช้อาจไม่รู้จัก ไม่คุ้นเคย และไม่อยากจะเปลี่ยนไปใช้โปรแกรมตัวอื่นจากโปรแกรมที่ตัวเองคุ้นเคยอยู่แล้ว และไม่อยากจะเริ่มต้นเรียนรู้โปรแกรมใหม่ๆ แต่ปัจจุบันผู้ใช้บางคนก็เริ่มหาโปรแกรมตัวอื่นๆ เข้ามาแทนที่กันบ้างแล้ว โดยเฉพาะหลังจากที่ Adobe ได้เปลี่ยนระบบการซื้อขายโปรแกรมมาเป็นระบบ subscription หรือการเช่าโปรแกรม โดยใช้กลยุทธชูราคาต่ำที่ผู้ใช้มีกำลังซื้อหามาใช้ได้ อย่างเช่น Photography Plan ของ Adobe สามารถใช้โปรแกรม Photoshop + Lightroom + Cloud Storage 20GB ในราคาเริ่มต้นขั้นต่ำเดือนละ 356 บาท ซึ่งก็ไม่ต่างจากราคาค่าใช้โทรศัพท์มือถือหรือถูกกว่าด้วยซ้ำ ซึ่งทำให้ปริมาณผู้ใช้ซอฟแวร์เถื่อนลดลง เพราะราคาซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์มีราคาลดลง ซึ่ง Adobe เองก็มีผลประกอบการสูงขึ้นมากมายจากการใช้ระบบ subcription เรียกว่าไม่ต้องจ่ายเงินค่าซื้อโปรแกรม Adobe ครั้งละเป็นหมื่นๆ บาท อย่างไรก็ดี…
การย้ายโปรแกรม Lightroom จากเครื่องคอมพิวเตอร์เดิมไปยังเครื่องใหม่
ความจริงผมไม่ได้ตั้งใจจะเขียนเรื่องการย้ายโปรแกรม Adobe Lightroom จากเครื่องคอมพิวเตอร์เดิมไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่แต่อย่างใด แต่บังเอิญเครื่องคอมพิวเตอร์เกิดเสียขึ้นโดยกระทันหันเมื่อช่วงต้นเดือนนี้ ซึ่งเกิดจาก Power Supply Unit เสีย และทำให้ไฟชอร์ต Mainboard พังตามไปด้วย เมื่อเช็คราคาซ่อมแล้วเห็นว่าไม่คุ้มกับที่จะจ่ายเงินค่าซ่อม ประกอบกับเห็นว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เดิมของผมมีอายุการใช้งานมาก็ 7 ปีกว่าเข้าไปแล้ว จึงเห็นว่าถึงเวลาที่เราควรเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่เสียที โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์เก่ามันใช้งานไม่ได้อีกแล้ว ผมมีแต่เพียง hard disk 1 ลูกที่ถอดออกมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์เก่าเท่านั้น ซึ่งผมจะต้องดึงข้อมูลการใช้งานการจาก hard disk มาใช้ให้ได้ สิ่งที่กังวล คือ โปรแกรมต่างๆ ที่เรามีเราใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เก่าจะสามารถโยกย้ายมาใช้ในเครื่องใหม่โดยสมบูรณ์หรือไม่ โดยเฉพาะข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ทำงานตลอดมา ซึ่งโปรแกรม Lightroom เป็นโปรแกรมสำคัญสำหรับผมซึ่งมีไฟล์ภาพจำนวน 100,000 กว่าภาพ ที่ได้ import เข้ามาไว้ใน catalog ของ Lightroom ข้อเขียนสั้นๆ นี้จึงเขียนมาจากประสพการณ์จริงที่ผมคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นด้วย ไม่ว่ากรณีเป็นแบบเดียวกับผม หรือเป็นกรณีที่ต้องการย้ายโปรแกรม Lightroom ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์ยังใช้งานได้อยู่ หรือใช้กับกรณีที่ได้…
การใช้งานโปรแกรม Olympus Workspace
เมื่อปลายเดือนมกราคม 2019 ที่ผ่านมา โอลิมปัสได้เปิดตัวกล้อง OM-D E-M1X ตัวใหม่ล่าสุดของค่ายนี้ พร้อมๆ กัน ก็ได้เปิดตัวโปรแกรมบริหารจัดการไฟล์และตกแต่งภาพตัวใหม่ของโอลิมปัสเอง คือ Olympus Workspace ซึ่งมาแทนที่โปรแกรม Olympus Viewer 3 สำหรับผู้ที่ใช้กล้องโอลิมปัส ซึ่งโปรแกรม Olympus Viewer 3 นั้น ผมก็เคยติดตั้งไว้ แต่ไม่เคยใช้ เพราะมันช้ามากๆ ในขณะที่ Olympus Workspace ติดตั้งดูแล้ว ทำงานเร็วกว่า ในฐานะเป็นผู้ใช้กล้องโอลิมปัสคนหนึ่ง และไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือส่วนได้เสียกับบริษัทโอลิมปัสแต่อย่างใด เพียงแต่จะขอแนะนำให้รู้จักกับโปรแกรม Olympus Workspace พอสังเขป ในฐานะผู้ใช้ธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น อาจมีคนสงสัยว่า แล้วผมจะได้อะไรจากการมานั่งเขียนเรื่องนี้ ได้สิครับ โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมใหม่ ผมเองก็ยังต้องเรียนรู้วิธีใช้งานจากโปรแกรม หรือ application ตัวนี้ อ่านคู่มือเพียงอย่างเดียว มันช่วยไม่ได้มากเต็มที่ แต่การอ่านแล้วเขียนบันทึกสรุปการใช้งานไว้ และต้องทดลองใช้งานจริงๆ ด้วย มันก็จะเป็นประโยชน์กับตัวเอง แล้วยังเผื่อแผ่ความรู้ให้ผู้ประสงค์จะใช้งานโปรแกรมได้ทราบข้อมูลไปด้วยเช่นกัน …