ตอนที่ 3 ของบทความนี้ เราจะมาพูดกันเรื่องโปรแกรมทางเลือกสำหรับคนที่ไม่ได้ใช้ Adobe Lightroom และ Adobe Photoshop กัน ว่าทางเลือกอื่นนั้นเป็นอย่างไรบ้าง
บางคนอาจสงสัยว่าในเมื่อโปรแกรมอย่าง Lightroom มันสามารถบริหารจัดการไฟล์ได้ดีอยู่แล้ว แล้วทำไมจะต้องเปลี่ยนไปใช้โปรแกรมอื่นเล่า มันก็ต้องมีที่มาที่ไปแน่นอนอยู่แล้วครับ เดิมนั้น โปรแกรมทั้ง 2 ตัวนี้ เป็น perpetual license คือ ซื้อมาก็ใช้ได้ตลอดไป แต่ประมาณ 4-5 ปีที่ผ่านมา ทาง Adobe เปลี่ยนนโยบายเป็น subscription แทนโดยสมัครบอกรับเป็นสมาชิก Photography Plan ซึ่งมีโปรแกรมทั้ง 2 ชุดนี้ โดยช่วงแรกๆ ค่าเช่าอยู่ในราคาเดือนละ $20 หรือ 600 บาท แต่หลังจากนั้น ไม่กี่เดือน Adobe ปรับราคาใหม่ เป็นเดือนละ $10 หรือ 300 บาท เพื่อเพิ่มยอดผู้ใช้ให้สูงขึ้น และได้ใช้ราคานี้มาถึงปัจจุบัน แต่ในส่วนของเงินบาท มีการปรับราคาใหม่เป็นเดือนละ 356 บาท ตามราคาอัตราการแลกเปลี่ยนเงินที่บริษัทไม่เสียเปรียบ
อันนี้เป็นจุดเริ่มต้นของผู้ใช้บางคนที่ไม่พอใจนโยบาย ให้เช่าโปรแกรมของ Adobe ความจริงค่าใช้เดือนละ $10 ก็ถือว่าไม่ได้แพงเลยสำหรับคนที่เป็นช่างภาพอาชีพ หรือคนที่ส่งภาพขายและมีรายได้พอสมควร แต่ก็อาจแพงสำหรับคนที่ใช้โปรแกรมนี้เป็นครั้งคราว ไม่ได้ใช้เป็นประจำ แต่ต้องจ่ายเงินทุกเดือน ถ้าเป็นหลายๆ ปี ก็ต้องใช้เงินเป็นหมื่น คนเหล่านี้จึงเริ่มหาทางที่จะไปใช้โปรแกรมอื่นแทน
สถานการณ์ทำให้การหาทางเลือกอื่นมีความจริงจังมากขึ้นอีก เมื่อ Adobe ประกาศยุติการ update ให้กับ Lightroom 6 ซึ่งเป็นโปรแกรมแบบ perpetual license ตั้งแต่เดือนมกราคม ปีนี้ เป็นต้นไป และปรับรูปแบบของ Lightroom แบบให้เช่า เป็น Lightroom CC และ Lightroom Classic CC โดยเฉพาะ Lightroom CC ที่เน้นไปยังผู้ใช้งานบน mobile device ซึ่งเป็น trend ที่กำลังมาแรง
Lightroom 6 ตอนนี้จะไม่มีการ update อะไรอีกต่อไปแล้ว เรียกว่าถูกปล่อยเกาะไปเรียบร้อยแล้ว ปัญหาที่ตามมามี 2-3 ประการ ประการแรก หากซื้อกล้องถ่ายรูปที่ออกมาใหม่ในปีนี้ Lightroom 6 จะไม่สามารถ process ไฟล์ RAW ของกล้องรุ่นใหม่ๆ ได้อีกต่อไป แต่ก็มีทางแก้ คือ การแปลงไฟล์ RAW ให้เป็นไฟล์ DNG แทน แต่ก็อาจจะไม่ถูกใจบางคน เพราะคนที่ต้องการใช้ไฟล์ RAW แบบต้นฉบับจากกล้อง หรือ proprietary และไม่ต้องการใช้ไฟล์ DNG ก็มีไม่น้อยนะครับ ประการต่อมา ความสามารถในการ process ไฟล์จะไม่มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีกต่อไป และประการสำคัญ เมื่อมีการ upgrade OS software คือ ใช้ Windows หรือ Mac เวอร์ชั่นใหม่ ปัญหาว่า Lightroom 6 จะยังใช้ได้ต่อไปหรือไม่ ซึ่งระยะปีสองปีนี้ คาดไม่น่าจะมีปัญหา แต่หลังจากนั้นก็ไม่แน่ครับ
สำหรับโปรแกรมทางเลือกอื่นนั้น ใจความสำคัญของบทความนี้เน้นไปที่โปรแกรมการบริหารจัดการไฟล์แทน Lightroom ไม่ได้เน้นไปที่การ process ภาพ ซึ่งก็มีโปรแกรมหลากหลายทั้งฟรี ทั้งเสียเงิน ทั้งราคาถูกและราคาแพง ซึ่งโปรแกรมที่มีลักษณะบริหารจัดการไฟล์ได้แบบ Lightroom และยังสามารถ process ภาพได้คล้ายกับ Lightroom อีก และราคาก็ไม่ได้สูงไปกว่า Lightroom ดูแล้วก็น่าจะเป็นตัวนี้ครับ On1 Photo Raw 2018.5 ซึ่งมีทั้งเวอร์ชั่น Windows และ Mac นอกเหนือจากการเป็นโปรแกรม stand alone แล้ว ยังเป็น plug-in สำหรับ Lightroom และ Photoshop อีกด้วย
ก่อนจะพัฒนามาเป็น Photo Raw คือ โปรแกรม Perfect Photo Suite แล้วกลายมาเป็น On1 Photo 10 แล้วก็ Photo Raw 2017 และ 2018 ล่าสุดเวอร์ชั่น 2018.5 หน้าตาและ feature ต่างๆ ค่อนข้างคล้ายกับ Lightroom
Lightroom แบ่งการทำงานออกเป็น 7 Modules คือ Library/ Develop/ Map/ Book/ Slide show/ Print/ Web ส่วน Photo Raw ก็แบ่งการทำงานออกเป็น 5 Modes คือ Browse/ Develop/ Effects/ Layers/ Resize ซึ่งโหมดที่เราจะพูดถึงในบทความนี้ก็คือ Browse ส่วนโหมดอื่นๆ ก็มีความสามารถไม่ได้แพ้ Lightroom แต่อย่างใด และที่เหนือกว่าก็คือโหมด Layer ซึ่ง Photo Raw สามารถใช้ Layer แบบ Photoshop ได้
Photo Raw ในโหมด Browse มีสิ่งที่แตกต่างกับ Lightroom ใน Module Library ที่สำคัญคือ Browse ของ Photo Raw มันเป็นทั้ง browser และ catalog คือ แบบ 2-in-1 กล่าวคือ มันเป็น browser แบบเดียวกับ Adobe Bridge หรือโปรแกรมพวก File Manager อื่น แต่เราก็สามารถสร้าง catalog ให้โฟลเดอร์ต่างๆ เข้ามาอยู่ในระบบ catalog ได้ ซึ่งจะทำให้โฟลเดอร์นั้นโหลดได้เร็วขึ้น ซึ่งก็นับว่าบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมนี้เขาเข้าใจคิด และยังคิดให้ผู้ใช้โอนระบบ catalog ใน Lightroom เข้ามาในระบบ catalog ของ Photo Raw อีกด้วย ซึ่งนับเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ใช้โปรแกรม Lightroom แล้วประสงค์จะมีทางเลือกอื่นนอกเหนือจาก Lightroom
วิธีคัดลอกถ่ายโอน catalog ของ Lightroom มาที่ Photo Raw ทำได้ไม่ยาก โดยไปที่โปรแกรม Lightroom แล้วเลือก File Menu/ Plug-in Extras/ Migrate Catalog to On1 Photo จะมี option ให้เลือกใน Dialogue box ดังภาพข้างล่าง
Option มีให้เลือกคือ จะย้าย Collections มาจาก Lightroom หรือไม่ และจะให้สร้างไฟล์ภาพที่มีการปรับแก้ใน Lightroom ด้วยหรือไม่ ถ้าเลือกข้อนี้ ก็ต้องเลือกต่อไปอีกว่า File Format เป็นแบบใด JPG หรือ TIFF หรือ PSD ที่ต้องมี option นี้ ก็เนื่องจากว่า Photo Raw ไม่สามารถที่จะเข้าไปคัดลอกข้อมูลใน virtual copy ของไฟล์ภาพใน Lightroom มาเพื่อมาสร้าง version ของไฟล์ใน Photo Raw แต่จะใช้วิธีสร้างไฟล์ใหม่ขึ้นมาแทน ต้องบอกด้วยว่า Photo Raw ไม่ใช้คำว่า Collections แต่จะใช้คำว่า Albums แทน และมี Album ย่อยลงไปอีกชั้น เรียกว่า nested albums ใน Lightroom มี virtual copy แต่ใน Photo Raw เรียกว่า version
หากเลือกเฉพาะ Migrate Collections ผ่านโปรแกรม Lightroom แล้ว ก็จะใช้ระยะเวลาหนึ่ง (แล้วแต่ขนาดของ cataglog) ระบบ catalog ของ Lightroom พร้อม Collection Sets ทั้งหมด ก็จะปรากฏใน Photo Raw ถ้าจะถามว่าแล้วมันสมบูรณ์ดีหรือเปล่า ก็คงตอบว่าสมบูรณ์ดีประมาณ 90-95% ที่ไม่ 100% ลองเปรียบเทียบ Collections จาก Lightroom ที่โอนมาเป็น Albums ของ Photo Raw ดังภาพข้างล่างนี้
จะเห็นได้ว่า Albums ที่ได้โดยหลักๆ ก็จะตรงกับ Collections ที่แตกต่างกันก็มี 3 ประการ ดังนี้
ประการแรก Album 01 Microstock Submitted มันจะดึงเอามาเฉพาะ collection ที่มีภาพอยู่ คือ 123RF และ Alamy ส่วน Collectionใดไม่มีภาพอยู่ มันจะไม่โอนมา วิธีแก้ ก็ต้องใส่ชื่อเว็บที่ไม่มีภาพเพิ่มเอาเองครับ ถือว่าเป็นปัญหาเล็กน้อย ส่วนจำนวนภาพที่ใน Collection มันระบุไว้ว่ามีกี่ภาพนั้น ใน Photo Raw ก็ระบุไว้เช่นกัน แต่ดันไปอยู่ด้านบนขวาของโปรแกรม แทนที่จะตามหลังชื่อ Collection แบบใน Lightroom
ประการต่อมา Photo Raw ไม่อนุญาตให้ชื่อ Album ซ้ำกัน แม้จะอยู่ในคนละ Set ก็ตาม โดยโปรแกรมจะใส่ตัวเลขหลังชื่อ Album ให้ เช่น 123Rf_1 123 RF_2 เป็นต้น วิธีแก้ ก็ต้องมาปรับแก้ชื่อใหม่ให้สอดคล้องกัน ก็แล้วแต่ชอบครับ เป็นผมก็อาจแก้เป็น 123RF (1) 123RF(2) และ 123RF(3) อย่างนี้เป็นต้น
ประการสุดท้าย คือ ข้อความใน Big note ที่เป็น plug-in เพื่อบันทึกเหตุผลสำหรับไฟล์ภาพที่ไม่ผ่านการตรวจของเว็บ มันไม่ตามมาด้วยนะครับ ซึ่งก็เป็นที่น่าเสียดาย ต้องมาบันทึกเพิ่มเอาเอง ซึ่ง Photo Raw ก็มีช่องให้เราพิมพ์ข้อความลงเองได้ในช่อง comment เสียอย่างเดียว ช่องมันเป็นช่องบรรทัดเดียว พิมพ์ได้ยาวก็จริง แต่มันมีแค่บรรทัดเดียว การพิมพ์อาจต้องใช้อักษรย่อให้มากที่สุด เพื่อประหยัดเนื้อที่
ส่วนภาพที่มีอยู่ใน Collections ก็ย้ายมาครบเมื่อกลายเป็น Album ไป ประเด็นนี้จึงไม่น่าเป็นห่วง มาพร้อมกับ keywords และข้อมูล Metadata อื่นๆ ที่มีอยู่ในไฟล์ ซึ่ง keywords นั้น ก็เรียงตามลำดับความสำคัญตามที่เราใส่ไว้ ไม่ว่าจะใส่ไว้ผ่านโปรแกรม Photo Mechanic หรือพิมพ์ใส่ไว้ในช่อง keyword ของ Photo Raw เองก็ตาม ซึ่งเมื่อก่อนที่ผมยังไม่ได้ใช้ Photo Mechanic ผมก็พิมพ์ keywords ฝังไว้ในไฟล์ JPG ผ่านโปรแกรม Perfect Photo Suite หรือ Photo Raw ในปัจจุบัน แล้วไป update keyword ต่อใน Lightroom
สำหรับ plug-in ที่ใช้ใน Lightroom และ Photoshop บางตัวนำมาใช้กับ Photo Raw ได้ด้วย และทราบว่าบางตัว เช่น Topaz นำมาใช้ไม่ได้ ซึ่งถ้าสนใจโปรแกรม Photo Raw ก็มีเวอร์ชั่นทดลองใช้ได้ 30 วัน ก็ลองดูครับ ปัญหาที่ผมเห็นก็คือ ใช้เวอร์ชั่นทดลองมาเกือบ 30 วัน มัน crash ไป 3 ครั้ง แต่ถ้าใช้กับเครื่องคนอื่นก็ไม่ทราบเหมือนกัน ไม่ลองก็คงไม่รู้
การ migrate จาก Lightroom มา Photo Raw นั้น ผมไม่แน่ใจว่าทำอะไรผิดไปหรือเปล่า ทั้งๆ ที่ ไม่ได้คลิกเลือก Save On1 sidecar files for no-destructive edits and metadata ใน Preferences ของ Photo Raw แต่ปรากฏว่า เมื่อย้าย catalog ของ Lightroom มา กลับพบว่า ทุกไฟล์ภาพจะมีไฟล์ sidecar สกุล .on1meta พ่วงติดมาด้วย ทำให้ต้องเสียเวลามาลบไฟล์ทิ้งไป
สิ่งที่น่ากังวลสำหรับการหันมาใช้โปรแกรมตัวนี้แบบเต็มตัว คือ การ backup ไฟล์ catalog มันไม่มี feature นี้นะครับ หาไม่เจอ ที่สำคัญไม่รู้ด้วยว่ามันไปเก็บไว้ที่โฟลเดอร์ไหน ไม่เหมือน Lightroom ที่เรา backup และย้ายที่เก็บ catalog folder ได้ อันนี้ ผมให้เป็นข้อสังเกตไว้ก็แล้วกันครับ เพราะการบริหารจัดการไฟล์ผ่านระบบฐานข้อมูลนั้น ถ้าเกิดปัญหาอะไรขึ้นคอมพิวเตอร์ของเรา ข้อมูลในระบบฐานข้อมูลเราจะเป็นอย่างไร
การ migrate จาก Lightroom มา Photo Raw นั้น ผมไม่แน่ใจว่าทำอะไรผิดไปหรือเปล่า ทั้งๆ ที่ ไม่ได้คลิกเลือก Save On1 sidecar files for no-destructive edits and metadata ใน Preferences ของ Photo Raw แต่ปรากฏว่า เมื่อย้าย catalog ของ Lightroom มา กลับพบว่า ทุกไฟล์ภาพจะมีไฟล์ sidecar สกุล .on1meta พ่วงติดมาด้วย ทำให้ต้องเสียเวลามาลบไฟล์ทิ้งไป
สิ่งที่น่ากังวลสำหรับการหันมาใช้โปรแกรมตัวนี้แบบเต็มตัว คือ การ backup ไฟล์ catalog มันไม่มี feature นี้นะครับ หาไม่เจอ ที่สำคัญไม่รู้ด้วยว่ามันไปเก็บไว้ที่โฟลเดอร์ไหน ไม่เหมือน Lightroom ที่เรา backup และย้ายที่เก็บ catalog folder ได้ อันนี้ ผมให้เป็นข้อสังเกตไว้ก็แล้วกันครับ เพราะการบริหารจัดการไฟล์ผ่านระบบฐานข้อมูลนั้น ถ้าเกิดปัญหาอะไรขึ้นคอมพิวเตอร์ของเรา ข้อมูลในระบบฐานข้อมูลเราจะเป็นอย่างไร
ถ้าถามว่า Photo Raw นี้ใช้แทน Photoshop ได้ด้วยหรือไม่ คงไม่ถึงขั้นนั้นนะครับ หากต้องการใช้โปรแกรมประเภท Imgage Editor เสริม ก็คงต้องหาโปรแกรมอื่นๆ แทน Photoshop ถ้าให้ผมแนะนำ ก็ตัวนี้เลยครับ Affinity Photo โปรแกรมที่มีความสามารถน้องๆ Photoshop ในราคาห้าสิบดอลลาร์ การใช้งานก็ง่ายกว่า Photoshop เยอะ เหมาะสำหรับงานตกแต่งภาพโดยเฉพาะ มีทั้งเวอร์ชั่น Mac และ Windows
บทความเรื่องนี้ยังไม่จบครับ คลิกอ่าน ตอนที่ 4 ได้ครับ ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายแล้ว