ระบบเมนูกล้อง OM-1

 กล้อง Olympus หรือ OM System OM-1 ได้ปรับเปลี่ยนระบบเมนูใหม่ ไม่อิงกับระบบเมนูของกล้อง Olympus รุ่นก่อนหน้านี้ ซึ่งคนที่ใช้กล้องโอลิมปัสทุกคนรู้ดีว่า ระบบเมนูกล้องโอลิมปัสนั้นค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน จะหาเมนูที่ปรับฟังก์ชั่นอะไร ก็ต้องงมหากันในเมนูย่อยที่อยู่ลึกลับซับซ้อน เมื่อกล้อง OM-1 เปิดตัวมา ก็ได้แก้ไขปัญหานี้โดยวางระบบเนูขึ้นมาใหม่ เป็นระบบดีกว่าเก่า ทำให้เข้าใจในตัวระบบเมนูง่ายขึ้นเยอะ

ข้อเขียนนี้ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบาย หรือแจกแจงรายละเอียดของเมนู OM-1 แต่อย่างใด เป็นข้อเขียนสั้นๆ แต่จะชี้ให้เห็นการวางโครงสร้างของระบบเมนูว่าเป็นอย่างไร ซึ่งถ้าเข้าใจโครงสร้างของเมนูแล้ว การค้นหาเมนูย่อยซึ่งทำเป็นลักษณะ Tab ก็จะทำให้ค้นหาง่ายขึ้นมาบ้าง 

 

ภาพด้านล่างเป็นการเปรียบเทียบเมนูบางส่วนของกล้อง OM-1กับ E-M1 Mark III เฉพาะเมนูถ่ายภาพ 1 หน้าแรก หรือ Tab แรก 

 

 

จะเห็นว่าแค่เริ่มต้นก็ต่างกันแล้ว ตัวเมนูหลักจะวางเป็นแนวนอนอยู่ด้านบนของจอภาพ ในขณะที่ของเก่าวางเมนูหลักวางในแนวตั้งอยู่ด้านข้างซ้ายของจอภาพ  ทีนี้ลองมาพิจารณาดูการวางโครงสร้างของระบบเมนูของ OM-1 จากเมนูหลักมาสู่เมนูย่อย ว่าเป็นอย่างไร

 

เมนูถ่ายภาพ 1 เป็นระบบถ่ายภาพแบบปกติ ใช้ตั้งค่า Custom Mode (C1-C4 ที่ปุ่มหมุนปรับโหมด) ตั้งค่าโหมดถ่ายภาพ ตั้งค่าคุณภาพของภาพ White Balance การวัดแสง ISO แฟลช  ระบบกันสั่น เป็นต้น แต่เมนูย่อยจะแตกต่างจากเมนูย่อยเดิมไปบ้าง ดังเปรียบเทียบให้ดูในภาพแรกด้านบน เมนูนี้มี 8 Tab หรือ 8 หน้า ประกอบด้วย Basic Settings/Image Quality, Picture Mode/WB, ISO/Noise Reduction, Exposure, Metering, Flash, Drive Mode และ Image Stabilizer

 

เมนูถ่ายภาพ 2 เป็นระบบถ่ายภาพที่ใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย หรืออาจเรียกว่าเป็น Computational Photography ทำนองนั้น ใช้สำหรับถ่ายภาพ Hi Resolution ถ่ายภาพโดยใช้ Live ND ถ่ายภาพแบบ Stack Focus ถ่ายแบบ HDR ถ่าย Time-lapse เป็นต้น ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นคนละระบบกับเมนูถ่ายภาพ 1 ซึ่งเป็นการถ่ายภาพแบบปกติ เมนูถ่ายภาพ 2 มี 3 Tab คือ Computational Modes, Other Shooting Functions และ Bracketing

 

-เมนู AF เป็นเมนูที่เกี่ยวกับระบบโฟกัสทั้งหมด คือ Auto Focus, Manual Focus, Focus Points, Subject Detection (ถ่ายรถ เครื่องบิน รถไฟ นก แมว) เป็นต้น มารวมอยู่ในเมนูนี้หมด รวมทั้งโหมดโฟกัสของวิดีโอก็อยู่ในหมวดนี้ด้วย ซึ่งประกอบไปด้วย 3 เมนู คือ AF Mode, C-AF Speed และ C-AF Sensitivity ทั้งนี้ เมนู AF นี้ มี 6 Tab ด้วยกัน ประกอบด้วย AF 3 Tab, Movie AF, AF Target Settings & Operations และ MF

 

เมนูถ่ายวิดีโอ เมนูนี้เป็นเรื่องของระบบวิดีโอล้วนๆ อยู่แล้ว (แต่ไม่รวมเรื่องระบบโฟกัส) มี 6 Tab คือ Basic Settings/Image Quality, Picture Mode/WB, ISO/Noise Reduction, Image Stabilizer, Sound Recording/Connection และ Shooting Assist ซึ่งมีรายละเอียดเพิ่มเติมจากเมนูเดิมอยู่มากทีเดียว

 

เมนู Playback ระบบเมนูการดูภาพถ่ายที่ถ่ายไปแล้ว ค่อนข้างต่างจากระบบเมนูเดิมมากเช่นกัน มี 3 Tab คือ File, Operations และ Displays มีเมนูย่อยเพิ่มขึ้น ในขณะที่ระบบเมนูเดิมมีหน้าเดียว แถมยังเอาเรื่อง Wi-Fi Connect เข้ามาอยู่ในเมนูนี้

 

-เมนู Custom เป็นเมนูไอคอนฟันเฟือง คือการปรับเปลี่ยนกาารตั้งค่าต่างๆ ของกล้อง ได้แก่ ระบบควบคุมกล้องผ่านปุ่มต่างๆ ของกล้อง ซึ่งตั้งค่าให้ต่างจากค่า default ได้ ระบบการเลือกหาเมนู หรือที่เรียกว่า Navigate ในส่วนของรายละเอียดปลีกย่อย (ซึ่งการ Navigate ระบบเมนูได้กล่าวไว้ด้านล่าง) เรื่องของช่องมองภาพ เป็นต้น เมนูไอคอนฟันเฟืองที่เป็นการปรับปรุงใหม่ดูง่ายขึ้น (ไม่เหมือนเมนูฟันเฟืองของเดิมที่ดูยุ่งเหยิงมาก เพราะประกอบไปด้วยเมนูย่อยมากจนงง ซึ่งมีตั้งแต่ A1-A4, B1-B1-B2, C1-2, D1-D4 ลากยาวไปจนถึง J1-J2) โดยได้มีการนำเมนูย่อยบางส่วนออกไปวางไว้ที่เมนูอื่นแทน จึงทำให้เมนู Custom ใหม่นี้มีเพียง 5 Tab ประกอบด้วย Operations 2 Tab, Live View, Information และ Grid/Other Displays

 

เมนู Set up เมนูที่มีไอคอนเป็นรูปประแจ เป็นระบบเมนูเกี่ยวกับการ Format card เรื่องของการกำหนด Slot ของการ์ดแต่ละช่อง เรื่องของการระบุชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ การกำหนดวันเดือนปี เวลา และการตั้งค่าภาษา เป็นต้น

 

My Menu เมนูนี้ก็ไม่ได้ต่างจากระบบเมนูเดิม เป็นเมนูที่ให้ผู้ใช้สามารถเลือกเมนูย่อยที่ใข้งานบ่อย หรือหรือนานๆใช้ทีจนจำไม่ได้ มารวมอยู่ในเมนูนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 เมนู โดยแต่ละเมนูสามารถเลือกเมนูย่อยได้ 7 ข้อ (รวมทั้งหมดก็ 35 เมนูย่อย) นอกจากนี้ เพื่อการเข้าใข้งาน My Menuให้ทำได้รวดเร็ว เราสามารถตั้งค่ากล้องให้ทุกครั้งที่เรากดปุ่มเมนู กล้องจะเปิดไปที่ My Menu ก็ทำได้โดยไปตั้งค่าที่เมนูฟันเฟืองที่ Tab ที่ 2 เมนูย่อย Menu Start Position

 

สำหรับวิธีการ Navigate เมนูหลักและเมนูย่อยก็เปลี่ยนไปด้วย ไม่ต้องอธิบายมาก ดูภาพด้านล่างนี้ที่ได้ชี้ให้เห็นว่า มีการ Navigate คือ วิธีการเข้าสู่เมนูหลัก เมนูย่อย และ item ของเมนูย่อยโดยใช้ปุ่มอะไรกันบ้าง ซึ่งไม่เหมือนกับระบบเมนูเดิม ซึ่งใช้เพียงปุ่มลูกศร (Arrow Pad) หรือใช้ปุ่ม Joystick เท่านั้น

 

ในภาพรวมกว้างๆ การใช้สีสรรที่แตกต่างกันของแต่ละเมนู ทำให้เห็นลักษณะเด่นของเมนูแต่ละตัว แม้เป็น cosmetic แต่ก็ดูสวยดี ที่สำคัญแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของตัวเมนูหลักแต่และตัวด้วย การวางเมนูย่อยถือว่าตั้งใจออกแบบ มีการแสดงเป็นหน้าๆ หรือ Tab มีกำหนดให้แต่ละเมนูย่อยแต่ละ Tab แสดงภายใน 1 หน้า ในระบบเมนูเก่านั้น เมื่อมีการแสดงตัวอักษรสีเทาจางที่เมนูย่อยในบางครั้ง ทำให้เราไม่รู้ว่า ทำไมเมนูย่อยตัวนั้นมันใช้งานไม่ได้ เป็นเพราะอะไร (ผมได้เขียนเรื่องเมนูตัวอักษรจางของกล้อง E-M1 Mark III  ไว้ ที่ Link นี้) แต่ระบบเมนูใหม่นี้ หากเมนูย่อยเป็นอักษรสีเทาจาง เรากดปุ่ม Info กล้องจะแสดงคำอธิบายไว้ว่ามันเป็นเพราะอะไร ทำให้ง่ายกว่าระบบเดิมมากๆ เรื่องย่อยๆ อีกเรื่องที่เห็นควรเขียนไว้ในที่นี้ คือ มีการแยก Focus Stacking กับ Focus Bracketing ออกจากกัน ของเดิมมันอยู่รวมกันในเมนู Focus BKT ทำให้งงๆ บ้างในบางครั้ง แต่ของใหม่นี้แยก Focus Stacking ออกจาก Focus BKT ซึ่งถือว่าดี

 

สรุปว่า ในภาพรวมเมื่อเข้าใจการวางโครงสร้างของระบบเมนู มันก็จะทำให้การใช้กล้อง OM-1 ทำได้ง่ายขึ้น (ข้อสังเกต เรื่องโหมดโฟกัสของการถ่ายวิดีโอได้นำไปวางไว้ในเมนู AF ตลอดจนการตั้งค่า Info และ Grid ของวิดีโอที่ไปวางไว้ในเมนู Custom เช่นกัน) ในเมื่อมีระบบเมนูที่ดีกว่าเดิมเช่นนี้ OM System ก็ควรยึดเป็นมาตรฐานสำหรับกล้องรุ่นหลัง OM-1 แต่เป็นที่น่าเสียดาย ที่กล้องรุ่น OM-5 ซึ่งออกมาทีหลัง OM-1 ยังใช้ระบบเมนูเดิมของกล้องโอลิมปัส ก็ไม่เข้าใจว่าเขาคิดอะไรอยู่