Shooting Menu 1
Reset/Custom Mode:
เมนูนี้มีเมนูย่อย 3 เมนู คือ
Reset – มีให้เลือก Full และ Basic เลือก Full เพื่อลบค่าต่างๆ ตั้งกล้องเกือบทั้งหมด ยกเว้นวันที่และภาษา ในขณะที่ Basic ลบค่าบางส่วน
Reset – มีให้เลือก Full และ Basic เลือก Full เพื่อลบค่าต่างๆ ตั้งกล้องเกือบทั้งหมด ยกเว้นวันที่และภาษา ในขณะที่ Basic ลบค่าบางส่วน
Assign to Custom Mode – ตั้งค่าของ Custom Mode ใน C1 C2 และ C3 (รายละเอียดการตั้งค่า Custom Mode มีอยู่ในบทความบทแรกเรื่อง “การตั้งค่าใช้งานกล้อง Olympus OM-D E-M1 Mark II” ) Recall from Custom Mode – เรียกค่าตั้งกล้องจาก Custom Mode C1 C2 และ C3 ความจริงแล้ว เมนูนี้ผลของมันไม่ได้แตกต่างจากการหมุนปุ่มเลือกโหมดการถ่ายตาม C1 C2 และ C3 แต่อย่างใด เพียงแค่เข้าใช้ผ่านทางเมนูเท่านั้น ยกเว้นเพียงถ้ากล้องอยู่ในโหมด Video/ART/iAUTO จะเข้าเมนูย่อยเมนูนี้ไม่ได้
Picture Mode:
เลือกโหมดภาพตามต้องการ เช่น iEnhance, Vivid, Natural หรือ Art Filter ต่างๆ และสามารถปรับตั้งค่า Saturation/Contrast/Sharpness อะไรเหล่านี้ได้
Image Quality:
เลือกขนาดและความละเอียดของไฟล์ภาพ Jpeg และ RAW ทั้งการ์ดในช่องที่ 1 และ 2
Image Aspect:
เลือกอัตราส่วนของภาพ เช่น 4:3 หรือ 3:2 หรือ 1:1 แต่ถ้าเราเลือก Image Quality เป็นไฟล์ RAW อัตราส่วนของภาพก็จะเป็น 4:3 โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว
Digital Tele-converter:
ตั้งค่าเปิด-ปิด หรือ On/Off ฟังก์ชั่น Digital zoom นี้ หากจำเป็นต้องใช้ ทำบนคอมพิวเตอร์จะดีกว่า
Drive/Timer/Time Lapse Setting:
เลือกโหมดถ่ายภาพ เช่น Single หรือถ่ายแบบต่อเนื่อง หรือชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ แบบตั้งเวลา หรือแบบ Time Lapse
Shooting Menu 2
Bracketing:
เปิด- ปิดการถ่ายภาพคร่อม หากจะเปิด ก็มี option ให้เลือก ไม่ว่าค่า Exposre ค่า White Balance ค่าแฟลช ค่า ISO และการถ่ายแบบ Focus Bracketing และ Focus Stacking (ซึ่งเป็นเมนูย่อยใต้ Focus Bracketing)
HDR:
เปิด-ปิดการถ่ายภาพ HDR หากจะเปิดก็มี option ให้เลือกหลายหลายเช่นกัน เช่น HDR1 HDR2 เลือกจำนวนภาพที่จะถ่าย และกำหนดค่าแสง
Multiple Exposure:
เปิด-ปิดการถ่ายภาพซ้อน หากเลือกเปิด ก็มี เมนูย่อยลงไปอีก คือ Number of Frames/Auto Gain/Overlay
Keystone Compensation:
เปิด-ปิด การใช้ฟังก์ชั่น Keystone Compensation เพื่อปรับแก้ Perspective distortion โดยเฉพาะการถ่ายภาพอาคาร สถาปัตยกรรมต่างๆ ทำให้แนวตั้งแนวนอนของอาคารไม่ผิดส่วน พูดง่ายๆ คือ เป็น software ที่ทำหน้าที่เหมือนกันกับเลนส์ tilt-shift
Anti Shock/Silent:
ปิด-ปิด ฟังก์ชั่น Anti Shock และเสียงกดชัตเตอร์เงียบ การใช้โหมดเสียงชัตเตอร์เงียบนี้เท่ากับว่าเราใช้ electronic shutter ปิดการใช้ mechanical shutter ซึ่งในบางสถานการณ์ก็อาจจำเป็นต้องใช้โหมดไม่มีเสียงชัตเตอร์ การใช้ electronic shutter ยังทำให้สามารถถ่ายแบบต่อเนื่องในความเร็วที่ 60 เฟรมต่อวินาทีได้ด้วย นอกจากนี้ ในเมนูย่อย Anti Shock นี้ ยังมี option การลด noise ให้เลือกได้ด้วย
High Resolution Shot:
การถ่ายภาพความละเอียดสูง เราสามารถเลือกได้ว่าจะถ่ายภาพ Jpeg ความละเอียดสูงที่ 50 หรือ 25 Megapixel ซึ่งควรเป็นการถ่ายภาพที่ไม่มีการเคลื่อนไหว และควรใช้ขาตั้งกล้องด้วย
Flash RC Mode:
เปิด-ปิด การใช้ Remote Control สำหรับแฟลชภายนอก
Video Menu
Video Mode Settings:
มีเมนูย่อย Mode P/A/S/M เลือกใช้โหมดใดโหมดหนึ่งตามเมนูย่อยนี้ เมื่อจะถ่ายวีดีโอ และยังมีเมนูย่อย Flicker Scan ให้เลือกเปิด-ปิดได้
Video Specifications Settings:
ตั้งค่าวีดีโอไฟล์ในเมนูนี้ จะเอา Full Hd หรือ 4 K ก็เลือกจากเมนูย่อยนี้ รวมทั้ง Noise Filter และ Picture Mode
Video AF/IS Settings:
การตั้งค่าโหมด AF และกันสั่นสำหรับวีดีโอ ซึ่งโหมด AF ควรใช้ C-AF เพราะการถ่ายวีดีโอปกติแล้วคือการถ่ายภาพเคลื่อนไหว ส่วนกันสั่นควรใช้ M-IS 1
Video Button/Dial/Lever:
การตั้งค่าปุ่ม แป้นหมุน และก้านหรือคันปรับฟังก์ชั่นต่างๆ สามารถตั้งได้แทบทุกปุ่มของกล้อง (ดูรายละเอียดใน Button Menu ของบทความก่อนหน้านี้ เรื่อง “ตารางสรุปเมนูของกล้อง Olympus OM-D E-M1 II“) ซึ่งการตั้งค่าผ่าน Video Menu เป็นคนละส่วนกับการตั้งค่าภาพนิ่งผ่าน Custom Menu ทำให้ปุ่มต่างๆ มีการทำงานที่ไม่เหมือนกันหรือเหมือนกันก็ได้ระหว่างการถ่ายวีโดีโอกับการถ่ายภาพนิ่ง ก็แล้วแต่จะตั้งค่านั้น
Video Display Settings:
ตั้งค่าแสดงผลระหว่าง Live CP กับ Live SCP ซึ่งจะแสดงผลการตั้งค่าต่างๆ โดยกดปุ่ม OK หรือ Info แล้วแต่การตั้งค่าของเรา นอกจากนี้ ในเมนูนี้ ยังตั้ง Time Code และการนับเวลาเมื่อบันทึกวีดีโอด้วย
Movie Audio:
เปิด-ปิดเสียงตอนถ่ายวีดีโอ การเปิดเสียงสามารถตั้งระดับเสียงที่บันทึก ลดเสียงลม ตลอดจนความดังของหูฟังได้ในเมนูย่อย
HDMI Output:
สามารถเลือก HDMI Output ได้ในรูปโหมดแสดงผลหรือโหมดบันทึก
Playback Menu
Slide Show:
หากต้องการดูภาพที่เราถ่ายไว้ในรูป Slide Show ก็ต้องเลือกเมนูนี้ ตลอดจน option ต่างๆ เกี่ยวกับ slide และระยะเวลาการแสดงภาพนิ่ง
Rotate:
เปิด-ปิดการปรับหมุนภาพถ่ายแนวตั้ง
Edit:
เมนูเพื่อการปรับแต่งภาพในกล้อง
Print Order:
คำสั่งพิมพ์
Reset Protect:
ล้างค่าป้องกันการลบภาพ
Copy All:
ก๊อปปี้ทั้งหมด
Connection to Smartphone:
เชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือ ซึ่งหากต้องการใช้ก็ต้องไปดาวน์โหลดแอพ Olympus Image Share มาติดตั้งไว้ที่มือถือก่อน การเชื่อมต่อกระทำผ่านระบบไวไฟของกล้อง ซึ่งเป็น Private wifi
Custom Menu
A1 AF/MF:
- AF Mode – เลือกโหมดโฟกัสที่เหมาะสมกับการถ่ายภาพ เช่น S-AF หรือ C-AF หรือ MF หรือ C-AF+TR เป็นต้น
- AF+MF – เลือกโหมดโฟกัส AFและ MF คือ ใช้โหมด Auto Focus ขณะเดียวกันสามารถใช้โหมด Manual Focus ควบคู่ไปด้วยกันได้
- AEL/AFL- เปลี่ยนฟังก์ชั่นปุ่ม AEL/AFL ที่ด้านหลังกล้องตามตามต้องการ สามารถเลือก Mode 1 Mode 2 หรือ Mode 3 สำหรับโหมดโฟกัส S-AF C-AF และ MF โดยส่วนตัวผมเลือกโหมด 3 ทั้ง S-AF C-AF และ MF เพื่อเปลี่ยนปุ่ม AEL/AFL ให้ทำหน้าที่โฟกัสภาพแทนปุ่มชัตเตอร์
- AF Scanner – คือตัวค้นหา AF มีให้เลือก 3 โหมด ผมเลือกโหมด 2 คือถ้าวัตถุที่เราจะถ่ายมันไม่ชัดเจน หรือความต่างสี (contrast) สูง AF Scanner นี้ จะทำงานเพียงครั้งเดียว
- C-AF Sensitivity – ตั้งค่าความไวต่อ subject ที่เราจะถ่ายในโหมด C-AF นั้น ให้มีค่าสูงต่ำเป็น + หรือ – ตามต้องการ
A2 AF/MF:
- (AF Target) Mode Settings การตั้งค่าพื้นที่เป้าโฟกัส คือเลือกได้ว่าจะตั้งเป้าโฟกัสให้เป็นแบบใด เช่น ทุกจุด/จุดเล็ก/จุดเดียว/กลุ่ม 9 จุด/กลุ่ม 25 จุด
- Focus Area Pointer – พื้นที่ AF Focus ถ้าเลือก On1 ก็เพื่อให้แสดงกรอบโฟกัส หากเลือก On2 จะแสดงกรอบโฟกัสในขณะที่กดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง
- AF Targeting Pad – เลือกเปิด หรือ ปิด การใช้นิ้ว (หัวแม่มือ) กวาดไปบนจอ Touchscreen เพื่อเลือกจุดโฟกัสในขณะที่มองผ่าน Viewfinder
- Set Home (Focus Points) เลือกจุดโฟกัสที่ใช้ประจำหรือเป็นค่า default โดยมีเมนูย่อยให้เลือก เริ่มด้วย AF Mode สามารถเลือก S-AF/C-AF/MF/C-AR+TR/Preset MF เมนูย่อยอีกอีกเมนู คือ AF Target เลือกจุดโฟกัสแบบจุดเดียว จุดเล็ก กลุ่ม 5 จุด หรือกลุ่ม 9 จุด และเมนูย่อยอันสุดท้าย เลือก AF Target position เราอาจเลือกเป็น ตรงกลางจอภาพ
- Custom Setting คือการตั้งค่าแบบกำหนดเอง สามารถตั้งค่าหมุนปุ่มด้านหน้า-หลังกล้อง และแป้นลูกศร โดยสามารถเลือกได้จากการตั้งค่าชุดที่ 1 และ 2
A3 AF/MF:
- AF-Limiter – เลือกเปิดระยะการทำงานของโหมด AF โดยตั้งค่าระยะตามต้องการได้เป็นเมตรหรือฟุต อาจมีประโยชน์ต่อการถ่ายรูปบางประเภทก็ได้ เช่น Macro หรือ Close up ซึ่งเป็นการช่วยลดระยะเวลาหรือการทำงานของ AF หรือเราจะปิดการทำงานของ AF-Limiter ก็ได้ โทษฐานทำให้งงและปวดหัว แถมมีเมนูย่อยจัด Priority Release ให้เลือกด้วย คือ ถ้าเลือกเปิด ผลทำให้เรากดปุ่มชัตเตอร์ถ่ายได้แม้ว่าโฟกัส subject ไม่เข้าก็ตาม หรือเลือกปิด ผลก็คือ ถ้าโฟกัสไม่เข้า ก็กดชัตเตอร์ไม่ลง
- AF Illuminator คือไฟช่วย Auto Focus ตั้งให้เปิดหรือปิดได้
- Face Priority เปิด-ปิดโฟกัสเน้นใบหน้า หากเปิด ก็ยังเลือกได้อีกว่าโฟกัสไปที่ตาข้างที่อยู่ใกล้ ตาข้างขวาหรือซ้าย เรียกว่า option เขาเยอะจริง
- AF Focus Adjustment การปรับโฟกัส AF เลือกได้ว่าจะปิด หรือกำหนดค่าตั้งต้นเป็น ± เท่าไหร่ก็ได้ หรือจะตั้งค่าข้อมูลเลนส์ที่เราใช้ก็ได้
A4 AF/MF:
- Preset MF Distance กำหนดตำแหน่ง MF ล่วงหน้า ตั้งระยะได้ว่ากี่เมตรหรือกี่ฟุต โดยประมาณการ
- MF Assist เป็นตัวช่วยปรับโฟกัส MF โดยเลือกเปิด-ปิด ตัวซูมขยายภาพ และ Focus Peaking เมื่อใช้โหมด MF
- MF Clutch คือ เลนส์ของโอลิมปัสบางรุ่นจะมี MF Clutch คือตรงแหวนปรับโฟกัสนั้น สามารถดึงให้เลื่อนลง แล้วจะกลายเป็นโหมด MF ซึ่งการเลือกในเมนูนี้ ก็เพื่อเลือกใช้งาน (operative) MF Clutch หรือไม่ก็ปิดการทำงานเสีย (inoperative)
- Focus Ring ไม่มีอะไรมาก เพียงแค่เลือกว่าจะให้แหวนโฟกัสหมุนตามเข็มหรือทวนเข็มนาฬิกาในการปรับโฟกัสของเลนส์
- Bulb/Time Focusing เปิด-ปิดฟังก์ชั่นนี้ หากปิดมัน ก็เท่ากับว่าไม่อาจใช้ MF ได้ในระหว่างถ่ายภาพแบบ Live Time / Live Composite
- Reset Lens เลือกเปิด-ปิดการ Reset Lens หากเลือกเปิด เลนส์จะถูก reset ตำแหน่งโฟกัสไปที่ infinity รวมถึงเลนส์ที่มีซูมไฟฟ้าด้วย เมื่อเราปิดกล้อง หากเลือกปิด เลนส์จะไม่ถูก reset เมื่อเราปิดกล้อง อันนี้ผมว่ามีประโยชน์มากหากเราเลือกเปิดการ Reset Lens ไว้ ในขณะที่เราปิดกล้อง หากจะหยิบกล้องขึ้นมาถ่ายทันที เมื่อเปิดกล้องเลนส์จะถูก reset ไปที่ infinity ทำให้เรายกกล้องขึ้นมาถ่ายภาพได้ทันทีโดยไม่ต้องไปโฟกัส (เว้นแต่จะถ่ายภาพ subject ที่อยู่ระยะใกล้ตัว)
B Button/Dial/Lever:
- Button Function เลือกฟังก์ชั่นสำหรับปุ่มต่างๆ ในการถ่ายภาพ เมนูนี้ไม่ขอลงรายละเอียดครับ โปรดดูจากบทความก่อนหน้านี้ เรื่อง “ตารางสรุปเมนูกล้อง Olympus OM-D E-M1 Mark II“ ในตารางสุดท้ายเรื่อง Button Menu
- PBH (Control) Lock เลือกเปิด-ปิด การล็อคปุ่ม OK และแป้นลูกศร เมื่อใช้ Power Battery Holder หรือ Batterry Grip
- Dial Function เปลี่ยนฟังก์ชั่นของปุ่มหมุนด้านหน้าและด้านหลังเสียใหม่ หากไม่ชอบค่า default ของกล้องที่กำหนดมา (ผมว่ายิ่งเปลี่ยนยิ่งงงเอา)
- Dial Direction ปรับเปลี่ยนทิศทางการหมุนของปุ่มหมุนเสียใหม่
- Fn Lever Settings มีเมนูย่อย 2 เมนู เมนูย่อยแรก คือ Fn Lever Function เป็นการตั้งค่าคันปรับหรือก้านปรับ Fn ด้านหลังกล้อง ว่าเมื่อดันคันปรับไปตำแหน่ง 1 และ 2 จะให้กล้องทำหน้าที่ใดบ้าง ส่วนเมนูย่อยที่ 2 คือ Switch Function เมนูย่อยนี้ เลือกได้ว่าจะเปิดหรือปิด ถ้าเลือกเปิด เมื่อคานปรับ Fn อยู่ในตำแหน่งที่ 2 ปุ่ม Switch (ปุ่มด้านบนกล้องด้านซ้าย) จะปรับเปลี่ยนหน้าที่ต่างจากที่มีไอคอนระบุไว้บนปุ่ม เป็นการถ่ายภาพคร่อม เมื่อกดปุ่มซีกบน และเป็นการเปิดแฟลช/ชดเชยแสง เมื่อกดปุ่มซีกล่าง ถ้าเลือกปิด ปุ่ม Switch นี้ จะไม่มีการปรับเปลี่ยนอะไรแม้ว่าเราจะโยกคันปรับไปตำแหน่ง 2 ก็ตาม ส่วนตัวผมเลือก Mode 3 หมายความว่า Mode 3 Lever ตำแหน่งที่ 1 ก็เป็นการถ่ายตามปกติไปตามโหมด P A S M แต่เมื่อเราโยกก้าน Lever ไปตำแหน่งที่ 2 คือการถ่ายวีดีโอได้ทันทีเลย หากจะกดถ่ายภาพนิ่ง ทำไม่ได้นะครับ ปุ่ม Shutter ไม่ทำงาน ต้องโยกก้าน Lever กลับไปตำแหน่งที่ 1 ตามเดิม กล้องจึงจะถ่ายภาพนิ่งได้ตามปกติ
- Fn Lever/Power Lever คือสามารถกำหนดให้คันปรับ Fn กลายเป็นปุ่ม Power สำหรับเปิด-ปิดกล้องได้ แต่ก็อย่างที่ผมเคยเขียนไว้ในบทความแรกเรื่องการตั้งค่ากล้อง E-M1 Mark II หากเราไปเลือกเช่นนี้ ปุ่ม Power จริงๆ ของกล้องก็ใช้งานอะไรไม่ได้ เสียของไปเปล่าๆ
- Electronic Zoom Speed เมนูนี้สำหรับเลนส์ที่มีซูมไฟฟ้า เช่น Olympus M.Zuiko 12-50mm f/3.5-6.3 จะเลือกสปีดต่ำ/กลาง/สูง ได้
C1 Release/Sequential/Image Stabilizer :
- S-AF Release Priority เลือกเปิด-ปิดได้ หากเลือกเปิด หมายความว่า เราสามารถกดปุ่มลั่นชัตเตอร์ได้ แม้ว่ายังโฟกัสไม่เข้าก็ตาม เมื่ออยู่ในโหมดโฟกัส S-AF
- C-AF Release Priority เลือกเปิด-ปิดได้ หากเลือกเปิด หมายความว่า เราสามารถกดปุ่มลั่นชัตเตอร์ได้ แม้ว่ายังโฟกัสไม่เข้าก็ตาม เมื่ออยู่ในโหมดโฟกัส C-AF
- Sequential L Settings การตั้งค่าความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องแบบความเร็วต่ำ ว่าจะตั้งไว้กี่เฟรมต่อวินาที และจำนวนเฟรมสูงสุด นอกจากนี้ ในการถ่ายภาพแบบ Pro Capture ก็สามารถตั้งความเร็วในการถ่าย และจำนวนเฟรมที่กล้องเก็บไว้ในหน่วยความจำก่อนกดชัตเตอร์ และจำกัดจำนวนเฟรมไว้ได้ด้วย
- Sequential H Settings การตั้งค่าก็เช่นเดียวกับเมนูย่อย Sequential L Settings เพียงแต่เป็นการถ่ายภาพต่อเนื่องแบบความเร็วสูง
- Flicker Reduction มีเมนูย่อยอีก 2 เมนู คือ Anti-Flicker LV ลดการเกิดภาพกระพริบจากหลอดไฟจำพวก CFL หรือ Fluorescent ใน Live View โดยเลือกตั้งค่าได้ตั้งแต่ Auto/50Hz/60Hz และเมนูย่อย Anti-Flicker Shooting เลือกเปิด/ปิด ได้
C2 Release/Sequential/Image Stabilizer :
- Image Stabilizer กันสั่นของกล้องสำหรับถ่ายภาพนิ่งตั้งค่าได้ 4 แบบ คือ S-IS 1/S-IS 2/S-IS 3/S-IS AUTO
- Sequential Image Stabilization กันสั่นระหว่างถ่ายภาพแบบต่อเนื่อง มีตัวเลือกระหว่าง Fps Priority กับ IS Priority โดย Fps Priority ให้ความสำคัญกับความเร็วในการถ่ายภาพก่อนกันสั่น กล้องจะไม่รีเซ็ทเซ็นเซอร์ไปยังกึ่งกลาง ถ้าหากเลือก IS Priority กล้องจะให้ความสำคัญกับการกันสั่นก่อนความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่อง โดยกล้องจะรีเซ็ทเซ็นเซอร์ไปยังกึ่งกลางของแต่ละเฟรมในการถ่ายภาพต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ความเร็วค่อยๆ ลดลง คู่มือกล้องเขาว่าไว้อย่างนั้น ถ้าไม่เชื่อก็ต้องทดลองดูเองครับ
- Half Way Res. With IS เลือกเปิด-ปิด เปิดหมายความว่า ให้กันสั่นของกล้องทำงานทันทีเมื่อเรากดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง ส่วนปิด หมายถึงกันสั่นของกล้องจะทำงานเมื่อเรากดปุ่มชัตเตอร์จนสุดเพื่อถ่ายภาพ
- Lens I.S. Priority เลือกเปิด-ปิด การเปิดหมายถึง เลือกกันสั่นของเลนส์แทนกันสั่นในกล้อง (สำหรับเลนส์ที่มีกันสั่น) ส่วนปิด หมายถึงใช้กันสั่นในตัวกล้องเป็นหลัก อย่างไรก็ดี ถ้าเลนส์มีสวิตช์กันสั่น ก็จะไม่ส่งผลใดต่อเมนูย่อยนี้ อ่านเผินๆ แล้วงงๆ คือ หมายความว่า สวิตช์กันสั่นของเลนส์สำคัญสุด ถ้าปิดกันสั่นที่เลนส์ ก็เท่ากับปิดกันสั่นที่กล้องด้วย หากเปิดกันสั่นที่เลนส์ กันสั่นที่กล้องก็เปิดด้วย ตัวอย่างเช่น เลนส์โอลิมปัส M. Zuiko 12-100mm F4 IS Pro
D1 Disp/Beep/PC:
- Control Settings ตั้งค่าการควบคุมในแต่ละโหมดถ่ายภาพ คือโหมด iAUTO/P/A/S/M/ART ว่าจะให้มี Live Guide/Live Control/Live SCP หรือ Art Menu หรือไม่ เมื่อกดปุ่ม Info แต่ละครั้ง
- Info settings เป็นการเลือกข้อมูลที่จะแสดงบนหน้าจอเมื่อกดปุ่ม Info แต่ละครั้ง ของโหมดต่างๆ ดังต่อไปนี้ โหมด Playback เมื่อกดปุ่ม Info จะแสดงเฉพาะภาพถ่าย ไม่มีข้อมูลอื่นใด กด Info อีกครั้ง จะแสดงข้อมูลอื่นๆ ของภาพเต็มรูปแบบ หากกด Info อีกครั้ง จะแสดง Histogram หากกดต่อไป ก็จะแสดง Highlight/Shadow หากกดอีกครั้ง ก็แสดง Lightbox ซึ่งในเมนูนี้ มันเป็น option ให้เราเลือกว่าจะให้หน้าจอมันแสดงอะไรบ้างตามที่กล่าวมา หรือไม่แสดงอะไรบ้าง ต่อมา ในโหมดซูมภาพหรือขยายภาพ หากกด Info มันจะแสดงอะไรบ้าง ก็มี option ให้เลือก ลองเปิดดูเองก็แล้วกันครับ ต่อมา ก็ในโหมด LV-info คือเมื่อกล้องอยู่ในโหมดถ่ายภาพ เช่นเดียวกัน มี option ให้เลือกว่าจะแสดงภาพอย่างเดียว หรือ Custom 1 และ Custom 2 และโหมดสุดท้าย คือ การตั้งค่าใน Thumbnail/Calendar Settings เพื่อเลือกข้อมูลที่จะแสดงในการดูภาพที่ถ่ายแล้วแบบ Thumbnail แบบกลุ่มซึ่งมีเลือกแบบแสดง 4 / 9 /25 /100 ภาพ My Clips และแบบ Calendar
- Picture Mode Settings ตั้งค่าโหมดภาพ เช่น พวก i-Enhance /Vivid/Muted/ Portrait/Monochrome/Custom/e-Portrait/Under water/ Color Creator/Pop Art อะไรเหล่านี้ เลือกที่จะให้มันแสดงหรือไม่แสดงเวลาจะใช้งาน ปกติเราก็เลือกโหมดถ่ายภาพผ่าน SCP
- Sequential/Timer Settings เลือกหรือไม่เลือกการถ่ายภาพต่อเนื่องหลายๆ แบบ และการตั้งเวลาสำหรับการถ่ายภาพหลายๆ แบบ เช่นกัน
- Multi Function Settings เลือก option ต่างๆสำหรับการตั้งค่า Multi Function ให้กับปุ่มใดปุ่มหนึ่งของกล้อง ค่าที่ตั้งได้นี้มีหลากหลาย เช่น Color Creator/การกำหนดปุ่มหน้าหลังให้ทำหน้าที่ปรับเปลี่ยนระหว่าง ISO กับ WB หรือจะสลับ WB กับ ISO/การขยายหรือซูมภาพ/อัตราส่วนของภาพ/S-OVF/ Peaking
D2 Disp/Beep/PC:
- Live View Boost มีเมนูย่อยให้เลือก 4 เมนู คือ 1.) Manual Shooting หากเลือก On1 ภาพบน Live View จะถูก boost คือไม่สะท้อนถึงแสงที่แท้จริง แต่จะปรับการแสดงผลให้เราเห็นชัดขึ้น มีแสงสว่างมากขึ้น ซึ่งภาพจริงสว่างน้อยกว่า หากเลือก On2 ก็เช่นเดียวกัน ภาพบน Live View ก็จะถูก boost ขึ้นเช่นกัน จะปรับการแสดงผลให้เราเห็นชัดขึ้น แต่ต่างกับ On1 ตรงที่กล้องจะปรับอัตราเฟรมช้า (slow frame rate) สำหรับพื้นที่มืด ซึ่งความสว่างของภาพที่ถ่ายจริงอาจแตกต่างกัน หรือไม่ก็เลือก Off คือภาพบน Live View ไม่มีการ boost ใดๆ ทั้งส้ิน ภาพและแสงที่เห็นใน Live View ตรงกับภาพและแสงจริง 2.) BULB/TIME เช่นเดียวกันกับข้อ 1.) เพียงแต่เป็นการถ่ายในโหมด Bulb/Time 3.) Live Composite เช่นเดียวกันกับข้อ 1.) เพียงแต่เป็นการถ่ายในโหมด Live Composite ปกติการถ่ายแบบ Bulb/Time และ Live Composite ก็ต้องใช้ขาตั้งกล้องอยู่แล้ว อัตราเฟรมช้าก็ไม่น่ามีผลที่จะทำให้ภาพเบลอ 4.) Others คือจะให้ Live View Boost หรือไม่ในการถ่ายด้วยโหมดอื่นๆ นอกเหนือจาก 3 โหมดข้างต้น
- Art LV Mode โหมดภาพพิเศษ LV มี option ให้เลือกระหว่าง mode 1 กับ mode 2 ต่างกันที่ mode 1 แสดง Art Filter บน Live View ในขณะที่ mode 2 มีการปรับ Art Filter ให้สีอ่อนลง
- Frame Rate จำนวนเฟรมตั้งได้ให้เป็นค่า Normal หรือ High ทั้งนี้ ก็คงแล้วแต่ประเภทของภาพที่เราจะถ่าย
- LV Close up Mode ในโหมดขยายภาพของ Live View มี option ให้เลือก คือ mode 1 และ mode 2 ซึ่ง mode 1 หมายถึง เมื่อเรากดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง ภาพ Live View ที่ขยายก็จะหายไป และกรอบขยายจะปรากฏขึ้น ส่วน mode 2 นั้น เมื่อเรากดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง AF จะทำงานขณะอยู่ในภาพ live View ที่ขยาย ส่วนในโหมด Live View Boost นั้น ถ้าเลือกเปิด ก็คือ ภาพใน Live View จะถูก boost ความสว่างขึ้น แต่ถ้าเลือกปิด Live View ก็ไม่มีการ boost แต่อย่างใด
- Default Setting (Playback/ Magnification) เมนูนี้เพิ่มขึ้นมาหลังจากมีการ update firmware ของกล้องให้เป็นรุ่น 2.0 แล้ว โดยเราสามารถตั้งค่า default ของการขยายภาพในโหมด Playback โดยเลือกได้ว่าเมื่อขยายภาพหรือซูมดูภาพ ไม่ว่าจะโดยการหมุนปุ่มด้านหลัง หรือแตะจอติดๆ กัน 2 ครั้ง ก็ตาม ภาพที่ซูมครั้งแรกนั้น คือ ค่าที่ได้ตั้งไว้ตามเมนูนี้ ซึ่งเลือกตั้งค่าได้ ดังนี้ Recently/Equally Value/x2/x3/x5/x7/x10/x14 ค่า Equally Value คือ ค่าขนาดเต็มของภาพขยายที่ 100% หรือ 1:1 บางทีท่านอาจสงสัยว่า อัตราขยายที่ 1:1 นั้น มันเท่ากับการขยายกี่เท่ากันแน่ 5x หรือ 7x หากลองเปรียบเทียบระหว่างการดูภาพผ่าน EVF กับ LCD แล้ว อาจจะงงเข้าไปใหญ่ เพราะขนาด 1:1 มันไม่เท่ากัน เช่น ดูภาพขยายใน EVF 1:1 = 3x แต่ดูใน LCD 1:1 = 5x ความจริงแล้ว มันจะเป็นกี่เท่านั้น มันไม่แน่นอนครับ ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ ประการแรก จากจอที่แสดงผล EVF กับ LCD มี resolution ไม่เท่ากัน และประการต่อมา คือ ขนาด/ความละเอียด/ประเภทของภาพที่เราเลือก ไฟล์ RAW กับ ไฟล์ Jpeg ซึ่งมีหลายขนาดอีก จึงทำให้อัตราการขยายภาพในอัตรา 1:1 จึงไม่เท่ากัน หากต้องการดูภาพขยายที่ 1:1 ทุกครั้ง ก็ต้องเลือก Equally Value ในเมนูนี้ (Equally Value นี่ มันเป็นคำประหลาดพิกล อ่านแล้วงงว่าแปลว่าอะไร แถมในเมนูใช้คำว่า x2 x3 x5 …… แทนที่จะใช้ว่า 2x 3x 5x ….. สงสัยว่าโอลิมปัสใช้ Google แปลจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษหรือเปล่า)
- Settings (DOF Preview) การตั้งค่าใช้งานปุ่มเช็คระยะชัดลึกที่อยู่ด้านหน้าของกล้อง ในเมนูย่อย Lock ถ้าเลือก On ผลคือ กดปุ่ม 1 ครั้ง เพื่อเช็คระยะชัดลึก กดซ้ำอีกครั้ง ยกเลิกการเช็คระยะ ถ้าเลือก Off คือ กดแช่ไว้เพื่อเช็คระยะชัดลึก เลิกกดแช่ เท่ากับยกเลิกการเช็คระยะ และเมนูย่อยอีกตัว คือ Live View Boost เลือก On-Off ได้ เพื่อเช็คระยะชัดลึกผ่าน Live View
D3 Disp/Beep/PCs:
- Grid Settings มีเมนูย่อยอีก 3 เมนู เมนูแรก คือ Display Color เลือกสีของกริดหรือเส้นตาราง เมนูต่อมา คือ Displayed Grid เลือกรูปแบบของกริดได้หลากหลายถึง 6 แบบ และเมนู Apply Settings to EVF โดยเลือก On-Off เพื่อจะนำการตั้งค่ากริดให้แสดงใน View Finder ด้วยหรือไม่
- Peaking Settings เมนูย่อย 3 เมนูเช่นกัน Peaking Color เลือกสีของ Peaking เมนูต่อมา คือ Highlight Intensity เลือกได้แบบ Low/Normal/High เมนูย่อยสุดท้าย คือ Image Brightness Adjustment สามารกเลือกเปิดความสว่างของภาพบน Live View กับเลือกปิด
- Histogram Settings โดยการตั้งค่า Highlight และ Shadow
- Mode Guide เลือกเปิด-ปิด โหมดคำแนะนำสั้นๆ เวลาหมุนเปลี่ยนปุ่มโหมดการถ่ายภาพ หรือเมื่อต้องการคำแนะนำที่เป็น Pop Up ขึ้นมาเวลาเข้าเมนู ก็เพียงกดปุ่ม Info เปิดคำแนะนำ และกดซ้ำอีกครั้งเพื่อปิด ก็ได้
- Selfie Assist ตัวช่วยในการเซลฟี่ เปิดตัวช่วยจะปรากฏบนจอภาพ โดย Live View จะแสดงภาพเหมือนสะท้อนกระจกเมื่อปรับหมุนจอพับมาด้านหน้า (ดูคล้ายๆ กับกล้องหน้าของโทรศัพท์มือถือ)
D4 Disp/Beep/PC:
- Beep เปิด-ปิดเสียงเวลากล้องโฟกัส
- HDMI เมนูย่อย 3 เมนู คือ Output Size หรือขนาดสัญญาณออก เลือกได้ตั้งแต่ C4K/4K/1080p/720p/480p/576p เมนูต่อมา คือ HDMI Control อนุญาตให้นำอุปกรณ์ภายนอกมาใช้ควบคุมกล้อง และเมนู Output Frame Rate คือ อัตราเฟรมสัญญาณออก เลือกได้ระหว่าง 50p Priority กับ 60p Priority
- USB Mode เลือกได้หลายแบบตามต้องการ คือ Auto/Storage/MTP/Print/เช่ือมต่อกล้องกับคอมพิวเตอร์/PCM Recorder
E1 Exp/ISO/Bulb/Metering
- EV Step ระดับค่า EV ตั้งได้ตั้งแต่ 1/3EV 1/2EV และ 1EV
- ISO Step ตั้งระดับค่า ISO ตั้งค่าได้ระหว่าง 1/3EV กับ 1EV
- ISO-Auto Set ตั้งค่า Upper Limit/Default ของค่า ISO และตั้งค่าชัตเตอร์ต่ำสุด ที่ Auto หรือ 1/250sec
- ISO-Auto กำหนดให้ใช้ ISO-Auto ได้กับการถ่ายภาพในโหมด P/A/S หรือ All
- Noise Filter (Still Image) ตั้งค่าให้กล้องใช้ Noise Filter เมื่อถ่ายภาพ Jpeg ที่ ISO สูงตั้งแต่ 1600 ขึ้นไป โดยตั้งค่าได้ตั้งแต่ Off/Low/Standard/High
- Low ISO Processing (Still image) เลือกได้ระหว่าง Drive Priority และ Detail Priority
- Noise Reduction เลือกตั้งค่าได้ตั้งแต่ Off/On/Auto สำหรับการลด Noise ในการถ่ายภาพแบบ Long Exposure
E2 Exp/ISO/Bulb/Metering
- Bulb/Time Timer ตั้งเวลาถ่าย Bulb/Time สามารถตั้งเวลาได้ตั้งแต่ 1min/2min/4min/8min/15min/20min/25min/30min
- Bulb/Time Monitor ตั้งค่าได้ ±0-7
- Live Bulb ตั้งค่าได้เป็นวินาที (หรือจะเลือกปิดก็ได้) ซึ่งเป็นการกำหนดความถี่ของการปรับหน้าจอในระหว่างการถ่ายภาพแบบ Live Bulb ซึ่งจำนวนแสดงผลจะลดลงเมื่อ ISO เพิ่มขี้น ซึ่งในเมนูกำหนดจำนวนการแสดงผลไว้ดังนี้ ISO LOW – 24 ครั้ง ISO 400 -19 ครั้ง ISO 800 – 14 ครั้ง ISO 1600 – 9 ครั้ง
- Live Time ตั้งค่าได้เช่นเดียวกันกับ Live Bulb
- Composite Settings การตั้งค่าเป็นวินาทีหรือส่วนของวินาที ซึ่งเป็นเวลารับแสงต่อภาพ โดยเวลารับแสงและรูรับแสงจะเป็นตัวกำหนดค่าแสงพื้นฐาน
- Flicker Scan การ Scan แสงกระพริบนี้เป็น feature ใหม่ของ firmware version 2.0 สำหรับปรับค้นหาความเร็วของชัตเตอร์ที่เหมาะสมเพื่อลดแสงกระพริบหรือภาพที่เป็นคลื่น (Flicker Effects) โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้ electronic shutter ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทันทีจากหน้าจอกล้อง
E3 Exp/ISO/Bulb/Metering
- Metering เลือกโหมดวัดแสงแบบต่างๆ จากเมนูนี้
- AEL Metering เช่นเดียวกันสำหรับโหมดวัดแสง AEL เลือกโหมดต่างๆ จากเมนูนี้
- Spot Metering การวัดแสงแบบจุด สามารถเลือกได้แบบ Spot/Spot Hilight/Spot Shadow
- Exposure Shift ปรับค่าแสง ± ค่าตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพ แบบเฉลี่ยกลาง และแบบวัดจากจุด
F Flash Custom
- X-Sync. (Flash) เลือกความเร็วชัตเตอร์เมื่อใช้แฟลช
- Slow Limit (Flash) เลือกความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าสุดที่มีเมื่อใช้แฟลช
- Flash Exp. Comp. + Exp. Comp. เปิด-ปิดค่าชดเชยแฟลช/ค่าชดเชยแสง
- Flash + WB เลือกค่าระหว่าง Off/WB Auto/WB Flash
G Quality/WB/Color
- Set (Quality) ตั้งค่าขนาดไฟล์ Jpeg
- Pixel Count ตั้งค่าจำนวน pixel ของไฟล์ Jpeg ขนาดกลางและเล็ก
- Shading Compensation เลือกเปิด-ปิด การชดเชยเงาแสง หรือเงาดำตรงขอบภาพทั้ง 4 ด้าน หรือที่เรียกว่า vignette (อ่านว่า วินเหย็ท ไม่ใช่ วิกเน็ต)
- WB เมนูปรับแต่ง White Balance Preset สามารถปรับแต่งค่าสีของ Preset แต่ละตัวได้ตามแกนสีอำพัน (amber)-สีน้ำเงิน กับแกนสีเขียว-บานเย็น (magenta)
- All WB (Adjust) เลือกค่าระหว่าง All Set กับ All Reset โดย All Set นั้น คือการปรับแต่งสี WB Preset ทั้งหมดให้เหมือนกัน ส่วน All Reset คือ การ Reset WB ทั้งหมดเสียใหม่
- WB Auto Keep Warm Color เปิด-ปิด White Balance สีโทนอุ่น เคยเห็นบางคนบอกว่า ทำไมภาพจากกล้องโอลิมปัสสีมันออกโทนเหลือง วิธีแก้ก็ต้องปิดฟังก์ชั่นนี้ก่อนหละครับ
- Color Space เลือกได้ระหว่าง sRGB กับ Adobe RGB
H1 Record/Erase
- Card Slot Settings การตั้งค่าของช่องเสียบการ์ด เมนูนี้มี option หลากหลายมาก ตั้งแต่ Save Settings/Save Slot/VDO Save slot/Playback Save Slot/Assign Save Folder จะตั้งค่าให้ช่องเสียบการ์ดช่อง 1 ช่อง 2 ทำหน้าที่กันอย่างไรในการถ่ายภาพ กำหนดให้การ์ดในช่องใดบันทึกภาพวีดีโอ ตอนดูภาพที่ถ่ายแล้วในโหมด Playback จะให้ดูจากการ์ดในช่องใด และการกำหนด Folder สำหรับบันทึกภาพ
- File Name เมนูสำหรับการใส่ตัวเลขชื่อไฟล์ โดยเราต้องเลือกระหว่าง Auto กับ Reset ซึ่ง Auto นั้น หมายถึง ชื่อไฟล์มันจะเรียงตัวเลขไปเรื่อยๆ เมื่อเปลี่ยนการ์ดใหม่ ตัวเลขในการ์ดใหม่มันก็ต่อเนื่องมาจากการ์ดเก่า แต่ถ้า Reset มันก็จะเริ่มต้นใส่ตัวเลขชื่อไฟล์ให้ใหม่ เริ่มจาก 0001
- Edit File Name เมนูนี้สำหรับแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อไฟล์ โดยสามารถใส่อักษรหรือตัวเลขเป็นส่วนหนึ่งของชื่อไฟล์ได้ เมนูจะกำหนดให้ใส่อักษรได้ไม่เท่ากันขึ้นกับการตั้งค่า Color Space หากเราใช้ sRGB ก็สามารถใช้อักษรได้ถึง 4 ตัว แต่ถ้าใช้ Adboe RGB ใช้อักษรได้เพียง 3 ตัว การตั้งชื่อไฟล์หรือแก้ไขชื่อไฟล์นี้ ถ้าท่านใช้กล้องยี่ห้อเดียวกัน 2 ตัว เช่น E-M5 กับ E-M1 ก็ควรพิจารณาดูเมนูนี้ให้ดีๆ เพื่อหลีกเลี่ยงชื่อไฟล์ซ้ำกันได้หากตั้งค่าในเมนูนี้เหมือนกัน
- dpi Settings dpi คือ dot per inch เป็นหน่วยวัดความละเอียดในการแสดงผลของภาพ ว่าใน 1 ตารางนิ้วจะมีจุดสีทั้งหมดได้กี่จุด ซึ่งใช้สำหรับงานพิมพ์ ปกติก็ตั้งค่ากันอย่างต่ำที่ 300 dpi
- Copyright Settings การตั้งค่าลิขสิทธิ์ มีเมนูย่อยเพื่อกรอกข้อมูล Copyright Info/Artist Name/Copyright Name ผมชอบเมนูนี้จังเลย เมื่อเป็นเจ้าของกล้องโอลิมปัส เราก็กลายเป็นศิลปินไปแล้ว
- Lens Info Settings การตั้งค่าข้อมูลเลนส์ ประกอบด้วย Lens Name/Focal Length/Aperture Vale ซึ่งก็มีประโยชน์ในกรณีใช้เลนส์มือหมุนกับกันสั่นของกล้อง และยังใช้เป็นข้อมูลเพื่อบันทึก Exif ของภาพไว้ด้วย ในเมนูนี้ ยังมีเมนูย่อยให้เลือก Reset ข้อมูลเลนส์ได้
H2 Record/Erase
- Quick Erase เปิด-ปิด การลบแบบเร็ว คือ ไม่ต้องรอ confirm ว่าจะลบภาพนี้หรือไม่ ซึ่งควรเลือก Off ไว้ดีกว่า
- RAW+PEG Erase เลือกว่าเมื่อต้องการลบภาพ จะลบเฉพาะไฟล์ JPEG หรือ RAW หรือ RAW+JPEG
- Priority Set เวลาเรากดปุ่มลบภาพ จะมี Pop Up ว่า Yes และ NO ถ้าเราเลือก Yes ในเมนูนี้ highlight สีเหลืองจะอยู่ที่ตัวเลือก Yes ถ้าเลือก No ในเมนูนี้ highlight สีเหลืองจะอยู่ที่ตัวเลือก No
I EVF
- EVF Auto Switch ถ้าเราเลือก On ก็คือการเปิดให้เซ็นเซอร์ตรวจจับดวงตาทำงาน Live View จะปิดเมื่อเรามองที่ EVF และจะเปิดเมื่อเราละสายตาจาก EVF หากเลือก Off เซ็นเซอร์ตรวจจับดวงตาจะไม่ทำงาน ต้องกดปุ่ม LV ข้างๆ EVF เพื่อสลับการแสดงผลระหว่าง Live View กับ EVF
- EVF Adjust มีเมนูย่อย 2 เมนู คือ EVF Auto Luminance เลือกระหว่าง On กับ Off และเมนู EVF Adjust พูดง่ายๆ เมนูนี้ใช้สำหรับปรับค่าความสว่าง (Brightness) และ Hue
- EVF Style มีให้เลือก 3 style แต่ละ style มีรูปแบบหน้าตาแตกต่างกัน เลือกดูเอาเองนะครับ
- Info Settings เลือก option ต่างๆ เมื่อเวลากดปุ่ม Info ว่าจะให้แสดงอะไรบ้าง Basic Information/Custom1/Custom2
- EVF Grid Settings การตั้งค่า Grid หรือตารางใน EVF โดยสามารถเลือกสีของ Grid และรูปแบบของ Grid 6 แบบ หรือเลือก Off ก็ได้ บางทีท่านอาจประหลาดใจหากพบว่า เมนู EVF Grid Settings มันกลายเป็นสีจางทำให้ตั้งค่าไม่ได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะเราอาจไปตั้งค่า Grid ในเมนู D3 Grid Settings โดยเลือก Apply Setting to EVF ก็ต้องไปคลิกเลือก Off ในเมนูนั้น และก็ต้องไม่เลือก Style 3 ในเมนู EVF Style ของเมนู I EVF นี้ด้วย
- Half Way Level การเลือก On ในเมนูนี้ เพื่อให้กล้องแสดงเกจวัดระดับ เมื่อเรากดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งเพื่อโฟกัส เกจแสดงระดับจะปรากฏขึ้น ทำให้เราทราบว่าการเล็งกล้องของเรานั้นตรงหรือไม่ หรือเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่งไม่ว่าแนวนอนหรือแนวตั้ง
- S-OVF ถ้าเลือก On ก็เท่ากับว่า EVF จะทำตัวให้เป็นเสมือน OVF หรือช่องมองภาพของกล้อง DSLR ซึ่งจะไม่ได้สะท้อนภาพที่จะถ่ายออกมาเหมือนจริงเท่ากับ EVF และการปรับค่าบางอย่างก็จะไม่แสดงออกมาให้เห็น เช่น White Balance รวมทั้งการชดเชยแสงด้วย
J1 Utility (Still Image)
- Pixel Mapping ตั้งค่าให้กล้องหา bad pixel บนเซ็นเซอร์ แล้วก็แก้ปัญหาโดย mapping ให้ด้วย
- Press-and-hold Time ตั้งเวลากดค้างให้กับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้อง โดยการกดปุ่ม OK ค้างไว้ในระยะเวลาหนึ่งที่ตั้งค่าในเมนูนี้ เรื่องนี้ ผมได้เขียนไว้ค่อนข้างละเอียดแล้วในหัวข้อย่อย “กดปุ่ม OK ค้างไว้เพื่อกลับสู่สถานะเดิม” ของบทความเรื่อง “การตั้งค่าใช้งานกล้อง Olympus OM-D e-M1 Mark II”
- Level Adjust ปรับมุมของเกจวัดระดับเสียใหม่ (ถ้าของเดิมมันมีปัญหา) หรือรีเซ็ทกลับไปยังค่า default
- Touchscreen Settings เลือก On/Off เพื่อเปิดหรือปิดการทำงานของทัชสกรีน
- Menu Recall เลือกระหว่าง Recall กับ Reset ถ้าเลือก Recall ก็เป็นการตั้งค่าเรียกดูตำแหน่งแห่งหนของเมนูที่เปิดใช้ครั้งสุดท้ายก่อนปิดกล้อง ถ้าเลือก Reset ก็จะนำไปสู่ Shooting Menu1 เป็นลำดับแรกทุกครั้งไป
- Fisheye Compensation เป็นเมนูใหม่ที่มาพร้อมกับ firmware version 2.0 ช่วยแก้ภาพเบี้ยวเมื่อใช้เลนส์ M. Zuiko 8mm F1.8 Fisheye Pro
J2 Utility (Still Image)
- Battery Settings มีเมนูย่อย 2 เมนู คือ Battery Priority ตั้งค่าลำดับการใช้แบตเตอรี่ระหว่างแบตเตอรี่ในกล้องกับแบตเตอรี่จาก Battery Grip และเมนู Battery Status แสดงสถานะของพลังงานแบตเตอรี่
- Backlit LCD ตั้งค่าจอ LCD หากไม่ใช้อะไร มีตัวเลือกว่าจอจะหรี่ลงภายใน 8 วินาที 30 วินาที 1 นาที และหากเลือก Hold จอก็จะไม่มีการหรี่ลง
- Sleep เมื่อเปิดกล้องไว้ และไม่ได้ทำอะไรในระยะเวลาที่ตั้งไว้ คือ 1/3/5 นาที กล้องก็จะเข้าสู่ Sleep Mode
- Auto Power Off เมื่ออยู่ใน Sleep Mode เป็นระยะเวลาหนึ่งที่ตั้งไว้ กล้องก็จะปิดโดยอัตโนมัติ ระยะเวลาดังกล่าว คือ 5 นาที 30 นาที 1 ชั่วโมง และ 4 ชั่วโมง
- Quick Sleep Mode เมนูนี้เป็นเมนูประหยัดพลังงานอีกเมนูหนึ่งสำหรับผู้ที่นิยมถ่ายด้วย EVF โดยไม่เปิด Live View หรือจะใช้ประโยชน์ตอนแบตเตอรี่ใกล้จะหมด เมนูนี้มี option ให้เลือกระหว่าง On/Off หากเลือก On ก็ต้องเข้าไปตั้งค่าระยะเวลาในเมนูย่อย Backlit LCD และ Sleep ว่ากี่วินาที หลังจากกดปุ่ม OK แล้ว ตอนถ่ายภาพก็ต้องกดปุ่ม LV ที่อยู่ด้านซ้ายของ EVF ที่ LCD ก็จะแสดงแผง SCP ซึ่ง SCP จะแสดงนานแค่ตามระยะเวลาที่ตั้งค่าไว้ในเมนูนี้ (บนมุมขวาด้านบนของ SCP จะมีอักษรพื้นสีเขียวว่า ECO เพื่อแสดงให้รู้ว่า ตอนนี้เราอยู่ใน Quick Sleep Mode
- Eye-Fi ตั้งค่าใช้สำหรับการ์ด Eye-Fi ถ้าไม่ได้เสียบการ์ด Eye-Fi ไว้ในช่องเสียบการ์ดของกล้อง เมนูนี้จะเป็นสีเทาจาง
- Certification ถ้ากดเลือกเมนูนี้ เป็นการแสดงผล Certification ของกล้อง โดยมีไอคอน CAN ICES-3(B)/NMB-3(B) แสดงขึ้นมา แล้วมันคืออะไร ดูเหมือนจะเป็นการรับรองว่ากล้องนี้เป็นไปตามมาตรฐานอุตสหกรรมของแคนาดา (เอ่อ ….แล้วเราจะต้องรับรู้หรือไม่นี่)
Setup Menu
Card Setup:
เลือกการ์ดจากช่อง 1 หรือ 2 เพื่อเลือกลบภาพทั้งหมด หรือเลือก format
Time:
ตั้งปี/เดือน/วัน/เวลา
Language:
เลือกภาษา
LCD (Adjust):
ปรับค่าความสว่างและ hue ของ LCD
Rec View:
เลือกระยะเวลาที่จอ LCD แสดงภาพหลังจากถ่ายตั้งแต่ 0.3-20 วินาที หรือเลือก Off ปิดการแสดงภาพบนจอไปเลยหลังถ่ายภาพ และยังมีตัวเลือกอีกตัว คือ Auto (Playback) หมายถึง เมื่อถ่ายภาพเสร็จปั๊บ ภาพที่ถ่ายจะแสดงบนจอ LCD ปุ๊บ และก็ค้างเติ่งอยู่อย่างนั้น เพื่อให้เราเพ่งพินิจว่าถูกใจหรือไม่ หากไม่ถูกใจก็กดลบภาพนั้นไปเสีย
Wi-Fi Settings:
การตั้งค่าไวไฟสำหรับเชื่อต่อกล้องกับสมาร์ทโฟน การตั้งค่าประกอบไปด้วย Wi-Fi Connect Settings/Private Password/Reset share Order/Reset Wi-Fi Settings
Firmware:
เช็คเวอร์ชั่นของ firmware ของกล้อง และเลนส์ (ถ้าใส่เลนส์ไว้ด้วย) firmware เวอร์ชั่นล่าสุดของกล้อง คือ 3.0 (19 มิ.ย. 2019)
(updated: September 11, 2019)